วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

LDR

 LDR : Light Dependent Resistor)                    
แอลดีอาร์ (LDR : Light Dependent Resistor)  คือ ความต้านทานชนิดที่ไวต่อแสง กล่าวคือ ตัวความต้านทานนี้สามารถเปลี่ยนสภาพทางความนำไฟฟ้า ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ บางครั้งเรียกว่าโฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo  Resistor)   หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์   (Photo Conductor)   เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ  
(Semiconductor)   ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide)   หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide)   ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา
รูปที่ 1 โครงสร้าง LDR

รูปร่างของ LDR ในรูปที่ 1 ส่วนที่ขดเป็นแนวเล็กๆสี ดำทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานไวแสง และ แนวสีดำ นั้นจะแบ่งพื้นที่ของตัวมันออกเป็น 2 ข้าง สีทองนั้น เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ทำหน้าที่สัมผัส กับตัวต้านทานไวแสง เป็นที่สำหรับต่อขาออกมาภายนอก หรือ เรียกว่าอิเล็กโทรด ที่เหลือก็จะเป็นฐานเซรามิก และ อุปกรณ์ สำหรับห่อหุ้มมัน ซึ่งมีได้หลายแบบ
สมบัติทางแสง การทำงานของ LDR เพราะว่าเป็นสารกึ่งตัวนำ เวลามีแสงตกกระทบลงไปก็จะถ่ายทอดพลังงาน ให้กับสาร ที่ฉาบอยู่ ทำให้เกิดโฮลกับอิเล็กตรอนวิ่งกันพล่าน. การที่มีโฮล กับอิเล็กตรอนอิสระนี้มากก็เท่ากับ ความต้านทานลดลงนั่นเอง ยิ่ง ความเข้มของแสงที่ตกกระทบมากเท่าไร ความต้านทานก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น
รูปที่ 2 ตัวอย่างกราฟแสดงความไวต่อแสงความถี่ต่าง ๆ ของ LDR ทั้ง 2 แบบ เมื่อเทียบกับความไวของตาคน
ในส่วนที่ว่าแสงตกกระทบนั้น มิใช่ว่าจะเป็นแสงอะไรก็ได้ เฉพาะแสงในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 4,000 อังสตรอม ( 1 อังสตรอม เท่ากับ 10 - 10 เมตร ) ถึงแระมาณ 10,000 อังสตรอมเท่านั้นที่จะใช้ได้ ( สายตาคนจะเห็นได้ ในช่วงประมาณ 4,000 อังสตรอม ถึง 7,000 อังสตรอม ) ซึ่งคิดแล้วก็เป็นช่วงคลื่นเพียงแคบ ๆ


เมื่อเทียบกับการทำงาน ของอุปกรณ์ไวแสง ประเภทอื่น ๆ แต่ถึงอย่างไรแสงในช่วงคลื่นนี้ ก็มีอยู่ในแสงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟแบบไส้ และ แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ด้วย หรือ ถ้าจะคิดถึงความยาวคลื่น ที่ LDR จะตอบสนองไวที่สุดแล้ว ก็มีอยู่หลาย ความยาวคลื่น โดยทั่วไป LDR ที่ทำจากแคดเมียมซัลไฟด์ จะไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นในช่วง 5,000 กว่า อังสตรอม. ซึ่งเราจะเห็นเป็นสีเขียว ไปจนถึงสีเหลือง สำหรับ บางตัวแล้ว ความ ยาวคลื่นที่ไวที่สุดของมันใกล้เคียงกับความยาวคลื่นที่ไวที่สุดของตาคนมาก ( ตาคนไวต่อความ ยาวคลื่น ประมาณ 5,550 อังสตรอม ) จึงมักจะใช้ทำเป็นเครื่องวัดแสง ในกล้องถ่ายรูป ถ้า LDR ทำจาก แคดเมียมซีลิไนด์ก็จะไวต่อ ความ ยาวคลื่นในช่วง 7,000 กว่า อังสตรอม ซึ่งไปอยู่ใน ช่วงอินฟราเรดแล้ว
ผลตอบสนองทางไฟฟ้า
อัตราส่วนระหว่างความต้านทานของ LDR ในขณะที่ไม่มีแสง กับขณะที่มีแสง อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ 100 เท่า 1,000 เท่า หรือ 10,000 เท่า แล้วแต่รุ่น แต่โดยทั่วไปแล้วค่าความต้านทานในขณะที่ไม่มีแสงจะอยู่ในช่วง ประมาณ 0.5 MW ขึ้นไป ในที่มืดสนิทอาจขึ้นไปได้มากกว่า 2 MW และ ในขณะที่มีแสงจะเป็นประมาณ 10 - 20kW ลง ไป อาจจะเหลือเพียงไม่กี่โอห์ม หรือ ไม่ถึงโอห์มก็ได้. ทนแรงดันสูงสุดได้ไม่ต่ำกว่า 100 V และ กำลังสูญเสีย อย่างต่ำประมาณ 50 mW
รูปที่ 3 ผลของการเปลี่ยนความเข้มแสงในทันทีทันใดกับ LDR
นอกเหนือจากลักษณะสมบัติต่างๆ เหล่านี้แล้วยังมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากความ เข้มแสดง เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ซึ่งจะดูตัวอย่างได้ในรูปที่ 3 ถ้า LDR ได้รับแสงที่มีความเข้มสูงดังเส้น ( ก ) ความต้านทานจะมีค่า ต่ำ และ ในทันทีที่ความเข้มของแสงถูกลดลงหลือเพียงระดับอ้างอิง ความต้านทานก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึงค่าความต้านทาน ที่มันควรจะเป็นในระดับอ้างอิง. แต่แทนที่มันจะไปหยุดอยู่ระดับอ้างอิง มันกลับ เพิ่มเลยขึ้นไปอีกแล้วจึงจะลดลงมาอยู่ในระดับ อ้างอิง เหมือนกับว่า เบรกมันไม่ค่อยดี และ ในทำนองเดียวกันถ้า เก็บมันไว้ในที่ความเข้มแสงน้อยๆ แล้วเปลี่ยนความเข้มเป็นระดับ อ้างอิงทันที ดังในรูป (ข ) ความต้านทานก็จะลด เลยต่ำลงมาจากระดับอ้างอิงแล้วจึงขึ้นไปใหม่ ยิ่งความเข้มของแสงเท่ากัน LDR แบบแคดเมียมซีนิไนด์ จะใช้เวลา ในการเข้าสู่สภาวะที่มันควรจะเป็นน้อยกว่า แบบ แคดเมียมซัลไฟต์ แต่ก็จะวิ่งเลยไปไกลกว่าด้วย และ อีกอย่างหนึ่ง ความเร็วในการเปลี่ยนระดับความต้านทานจากค่าหนึ่งไปอีกค่า

หนึ่งช้ามาก. ซึ่งจะอยู่ในช่วงของมิลลิวินาทีหรือ บาง ทีก็เป็นวินาที เลย จึงทำให้ LDR ใช้ได้ กับงานความถี่ต่ำๆ เท่านั้น
ทำเป็นเครื่องวัดแสง ในรูปที่ 4 เป็นวงจรเครื่องวัดแสงแบบง่ายจริงๆ LDR ที่ใช้ก็ควรจะมีอัตราส่วนของค่าความต้านทาน ระหว่างไม่มีแสง กับมีแสงมากๆ หน่อย เวลาใช้ต้องระวังอย่าให้เข็มมิเตอร์ตีเกินสเกล ของแพงมาเสียง่ายๆ อย่าง นี้มันน่าเจ็บใจตัวเอง
รูปที่ 4 เครื่องวัดแสงแบบง่ายที่สุด
อีกวงจรหนึ่งในรูปที่ 5 เป็นวงจรที่ดัดแปลงให้ดีขึ้นแล้วโดยเอาออปแอมป์เบอร์ 741 เข้ามาช่วยทำให้ไวขึ้น มาก จะเอา ดิจิตอลมัลติมิเตอร์มาต่อแทนแบบเข็มก็ได้ แต่ต้องระวังแสงจาก LED จะไปกวนการทำงานของ LDR
รูปที่ 5 วงจรเครื่องวัดแสงที่ปรับปรุงขึ้นแล้ว
สวิตซ์ทำงานด้วยแสง การใช้ LDR ทำงานในวงจรปิดเปิดสวิตซ์ เราก็ จะใช้เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ มีแสง หรือ ไม่มีแสง. โดย ทั่วไปเราจะ ใช้วิธีเอามาอนุกรมกับตัวต้านทานตัวหนึ่ง แล้วต่อเป็นวงจรแบ่งแรงดันออกมาตามรูปที่ 6 อย่างในรูป ( ก ) จะทำงานดังนี้ คือ ถ้ามีแสงสว่าง LDR จะมีความต้านทานต่ำ ทำให้แรงดันส่วนใหญ่มาตกคร่อม R 1

เสียหมด แรงดันเอาต์พุต จึงสูงเกือบเท่า แรงดันไฟเลี้ยง และ ถ้าไม่มี แสง LDR จะมีความต้านทานสูง แรงดันส่วนใหญ่จะ ไปตกที่ LDR แรงดันเอาต์พุต จึงเกือบเป็น 0 โวลต์
รูปที่ 6 หลักการใช้ LDR ในวงจรปิดเปิดสวิตซ์
ในรูปที่ 6 ( ข ) วงจรจะทำงาน ในทางตรงข้าม เพียงแต่สลับที่ระหว่าง LDR กับ R 1 เวลามีแสงสว่าง เอาต์พุตก็จะเกือบ เป็น 0 โวลต์ เวลาไม่มีแสงสว่างเอาต์พุตก็เกือบเท่าแรงดันไฟเลี้ยงจะเห็นได้ว่ากลับกับกรณีแรก
รูปที่ 7 ตัวอย่างวงจรควบคุมสวิตซ์โดยรีเลย์จะทำงานเมื่อไม่มีแสงสว่าง
ทั้ง 2 กรณี จะมีวงจรที่ต่อออกไปสำหรับจับสัญญาณว่ามีแสงสว่างหรือไม่. แล้วนำไปควบคุมสวิตช์ อีกทีให้ ทำงานใน กรณีที่ต้องการ. ในรูปที่ 7 เป็นตัวอย่างวงจรซึ่งรีเลย์จะทำงานเมื่อไม่มีแสงสว่าง ซึ่งถ้าเราไม่ต้องการแบบนี้ และ อยากให้รีเลย์ ทำงาน เมื่อมีแสงสว่างก็เพียงแต่สลับที่ระหว่าง LDR กับความต้านทานปรับค่าได้ 100 kW เท่านั้น
รูปที่ 8 วงจรเตือนภัยเป็นเสียงเมื่อมีแสงสว่างกระทบ LDR
ในรูปที่ 8 ก็เป็น ตัวอย่างวงจรอีกอันหนึ่งทำงานเมื่อมีแสงสว่าง ตัวอย่างอื่นๆ ก็ได้แก่ วงจรจับควันไฟ , วงจรกะพริบ เพื่อความปลอดภัยเมื่อมีรถยนต์แล่นผ่านมา. ซึ่งโดยหลักการแล้วไม่ยาก คงจะนำไปดัดแปลงใช้กันได้
ใช้ LDR ตลอดช่วง
รูปที่ 9 ตัวอย่างวงจรเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณเสียง
นอกจากวงจรเครื่องวัดแสง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในการประยุกต์ LDR ให้ใช้งานแบบทุกช่วงการเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังมีคน ดัดแปลงไปใช้ในวงจรอื่นๆ อีก เช่น วงจรแปลงสัญญาณอะนาลอก เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อเชื่อมต่อส่วนที่เป็น วงจรอะนาล็อก ให้ส่งสัญญาณผ่านเข้าไปทำงานในวงจรดิจิตอลได้ ดังเช่น รูปที่ 9 เป็นวงจรแปลงระดับความเข้มแสง ซึ่งเป็นสัญญาณ อะนาล็อกให้ออกมาเป็นจำนวนลูกคลื่นสี่เหลี่ยม ยิ่งความเข้มแสงมากเท่าไหร่ จำนวนลูกคลื่น สี่เหลี่ยมก็จะยิ่งออกมามากเท่านั้น วงจรนี้ ใช้ไอซี 555 ความถี่ของคลื่นที่ออกมาจะได้ประมาณ 22kHz ถ้าเอาไป รับแสงใกล้ๆ หลอดไฟขนาด 60 วัตต์ แต่จะ เหลือเพียงประมาณ 1Hz ในที่มืด ถ้าเอาลำโพงอนุกรมกับตัวต้านทาน 220W ไปต่อเข้ากับขา 3 และ ไฟบวกก็จะได้ยินเสียง สูงๆ

ต่ำๆ ตามความเข้มของแสง ลองดูก็ได้คงจะสนุกไม่เลว และ ตัวอย่างอีกอันหนึ่งจะเห็นได้ในรูปที่ 10 เป็นวงจรเปิด - หรี่ - ปิดไฟ ซึ่งจะควบคุมให้หลอดไฟสว่างขึ้นในขณะ ที่แสงสว่างของสภาพแวดล้อมลดลงเป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน
รูปที่ 10 วงจรเปิด-หรี่-ปิดไฟ

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวต้านทาน (Resistor)

 ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อทำให้กระแสและแรงดันภายในวงจร ได้ขนาดตามที่ต้องการ เนื่องจากอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แต่ละตัวถูกออกแบบให้ใช้แรงดันและกระแสที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวต้านทานจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทและใช้กันมากในงานด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, เครื่องขยายเสียง ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน ที่ใช้ในการเขียนวงจรมีอยู่หลายแบบดังแสดงในรูปที่ 2.1
ชนิดของตัวต้านทาน
     ตัวต้านทานที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ในกรณีที่แบ่งโดยยึดเอาค่าความ
ต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
  1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่  (Fixed Resistor)
  2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้  (Adjustable Resistor)
  3. ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้  (Variable Resistor)
ตัวต้านทานแบบค่าคงที่  (Fixed Resistor)
ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่มีหลายประเภท ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวประเภทที่มีความนิยม ในการนำมาประกอบใช้ในวงจร ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป ดังนี้
  1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
  2. ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ ( Metal Film)
  3. ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film)
  4. ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)
  5. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network)
  6. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network)
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
     เป็นตัวต้านทานที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาก มีราคาถูก  โครงสร้างทำมาจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทาน ผสมกันระหว่างผงคาร์บอนและผงของฉนวน อัตราส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ จะทำให้ค่าความต้านทานมีค่ามากน้อย เปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ บริเวณปลายทั้งสองด้านของตัวต้านทานต่อด้วยลวดตัวนำ บริเวณด้านนอกของตัวต้านทานจะฉาบด้วยฉนวน
ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ (Metal  Film)
     ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะทำมาจากแผ่นฟิล์มบางของแก้วและโลหะหลอมเข้าด้วยกันแล้วนำไปเคลือบที่เซรามิค ทำเป็นรูปทรงกระบอก แล้วตัดแผ่นฟิล์มที่เคลือบออกให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายจะทำการเคลือบด้วยสารอีป๊อกซี (Epoxy) ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความผิดพลาดบวกลบ 0.1 % ถึงประมาณ บวกลบ 2% ซึ่งถือว่ามีค่าความผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนี้ยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภายนอกได้ดี สัญญาณรบกวนน้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานชนิดอื่น ๆ
ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film)
     ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน เป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยการฉาบผงคาร์บอน ลงบนแท่งเซรามิคซึ่งเป็นฉนวน หลังจากที่ทำการเคลือบแล้ว จะตัดฟิล์มเป็นวงแหวนเหมือนเกลียวน๊อต ในกรณีที่เคลือบฟิล์มคาร์บอนในปริมาณน้อย จะทำให้ได้ค่าความต้านทานสูง แต่ถ้าเพิ่มฟิล์มคาร์บอนในปริมาณมากขึ้น จะทำให้ได้ค่าความต้านทานต่ำ ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะมีค่าความผิดพลาด บวกลบ 5% ถึงบวกลบ 20% ทนกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8 วัตต์ถึง 2 วัตต์ มีค่าความต้านทานตั้งแต่ 1 โอห์ม ถึง 100 เมกกะโอห์ม
ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)
     โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้เกิดจากการใช้ลวดพันลงบนเส้นลวดแกนเซรามิค หลังจากนั้นต่อลวดตัวนำด้านหัวและท้ายของเส้นลวดที่พัน ส่วนค่าความต้านทานขึ้นอยู่กับวัสดุ ที่ใช้ทำเป็นลวดตัวนำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนเซรามิคและความยาวของลวดตัวนำ ขั้นตอนสุดท้ายจะเคลือบด้วยสารประเภทเซรามิค บริเวณรอบนอกอีกครั้งหนึ่ง ค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบนี้ จะมีค่าต่ำเพราะต้องการให้มีกระแสไหลได้สูง ทนความร้อนได้ดี สามารถระบายความร้อนโดยใช้อากาศถ่ายเท
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา (Thick Film Network)
     โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มหนา มีรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในรูปที่ 2.6 แสดงตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนาประเภทไร้ขา (Chip Resistor) ตัวต้านทานแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิต มีอัตราทนกำลังประมาณ 0.063 วัตต์ ถึง 500 วัตต์ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 1 % ถึง บวกลบ 5 % (จากหนังสือ Farnell II-Semi Conductor and Passines หน้า 294-310 )
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Network)
     โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มบาง  มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวไอซี (Integreate Circuit) ใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิตเช่นเดียวกับตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา โดยส่วนใหญ่จะมีขาทั้งหมด 16 ขา การใช้งานต้องบัดกรีเข้ากับแผ่นลายวงจร อัตราทนกำลัง 50 มิลลิวัตต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 0.1 % และอัตราทนกำลัง 100 มิลลิวัตต์ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5 % ที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 50 VDC
   ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
     โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับแบบไวร์วาวด์ แต่โดยส่วนใหญ่บริเวณลวดตัวนำ จะไม่เคลือบด้วยสารเซรามิคและมีช่องว่างทำให้มองเห็นเส้นลวดตัวนำ เพื่อทำการลัดเข็มขัดค่อมตัวต้านทาน โดยจะมีขาปรับให้สัมผัสเข้ากับจุดใดจุดหนึ่ง บนเส้นลวดของความต้านทาน ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนใหญ่มีค่าความต้านทานต่ำ  แต่อัตราทนกำลังวัตต์สูง การปรับค่าความต้านทานค่าใดค่าหนึ่ง สามารถกระทำได้ในช่วงของความต้านทานตัวนั้น ๆ เหมาะกับงาน ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเสมอ ๆ
ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้
     ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในทำมาจากคาร์บอน  เซรามิค หรือพลาสติกตัวนำ ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่นในเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง, ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่นโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือพอต (Pot)สำหรับชนิด
ที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทาน หรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทานคือโวลลุ่ม (Volume) เพิ่มหรือลดเสียงมีหลายแบบให้เลือกคือ 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่า โวลลุ่มเกือกม้า หรือทิมพอต (Trimpot)
     ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้นี้  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือโพเทนชิโอมิเตอร์(Potentiometer) และเซนเซอร์รีซิสเตอร์ (Sensor Resistor)
โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer)
     โพเทนชิโอมิเตอร์หรือพอต (Pot) คือตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ในวงจรต่าง ๆ โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทคาร์บอน ผสมกับเซรามิคและเรซินวางบนฉนวน ส่วนแกนหมุนขา กลางใช้โลหะที่มีการยืดหยุ่นตัวได้ดี โดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มหรือ VR (Variable Resistor) มีหลายแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือแบบ A , B และ C
     จากรูปที่ 2.10 (ก) จะเห็นว่าโพเทนชิโอมิเตอร์มี 3 ขา ขาที่ 1 และ 2 จะมีค่าคงที่ส่วนขาที่ 3 เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามที่ต้องการ ส่วนรีโอสตาทนั้นจะมี 2 ขา ตามรูปที่ 2.10 (ข) แต่ในกรณีที่ต้องการต่อโพเทนชิโอมิเตอร์ให้เป็นรีโอสตาทก็ทำได้โดยการต่อขาที่ 3 เข้ากับขาที่ 2 ก็จะกลายเป็นรีโอสตาทตามรูปที่ 2.10 ค ส่วนรูปที่ 2.10 ง. แสดงโครงสร้างทั่ว ๆ ไปของโพเทนชิโอมิเตอร์้
     อีกชนิดหนึ่งคือจำพวกฟิล์มคาร์บอนใช้วิธีการฉาบหรือพ่นฟิล์มคาร์บอนลงในสารที่มีโครงสร้างแบบเฟโนลิค (Phenolic) ส่วนแกนหมุนจะใช้โลหะประเภทที่ใช้ทำสปริงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น VR 100 KA หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน ต่อการหมุนในลักษณะของลอกการิทึม (Logarithmic) หรือแบบล๊อกคือเมื่อหมุนค่าความต้านทานจะค่อย ๆ เปลี่ยนค่า พอถึงระดับกลางค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนิยมใช้เป็นโวลลุ่มเร่งความดังของเสียง ส่วนแบบ B นั้นค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปในลักษณะแบบลิเนีย (Linear) หรือเชิงเส้นคือค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นตามการหมุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากนิยมใช้ในวงจรชุดควบคุมความทุ้มแหลมและวงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า
     ตัวต้านทานแบบโพเทนชิโอมิเตอร์อีกประเภทหนึ่งคือ ตัวต้านทานแบบปรับละเอียด(Trimmer Potentiometers) ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนมากมักใช้ประกอบในวงจรประเภทเครื่องมือวัดและทดสอบ เพราะสามารถปรับหมุน เพื่อต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ทีละน้อย และสามารถหมุนได้ 15 รอบหรือมากกว่า ซึ่งเมื่อเทียบกับโพเทนชิโอมิเตอร์ แบบที่ใช้ในเครื่องรับวิทยุและเครื่องเสียง ซึ่งจะหมุนได้ไม่ถึง 1 รอบก็จะทำให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ตัวต้านทานชนิดพิเศษ
     ตัวต้านทานชนิดพิเศษ เป็นตัวต้านทานที่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างจากตัวต้านทานทั่ว ๆ ไป เช่นใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้เป็นสวิตช์เปิดปิดไฟด้วยแสง ฯลฯ เป็นต้น
แอลดีอาร์  (LDR : Light Dependent Resistor)
     LDR คือตัวต้านทานชนิดที่มีความไวต่อแสงมาก บางครั้งเรียกว่าตัวต้านทานแบบโฟโต้คอนดัคตีฟเซล (Photoconductive Cells) หรือโฟโต้เซล โครงสร้างภายในโดยทั่วไปจะทำด้วยสารแคดเมียมซัลไฟต์ (Cadmium Sulfide) หรือแคดเมียมเซลีไนต์ (Cadmium Selenide) มีความเข้มของแสงระหว่าง 4,000 A. (Blue Light) ถึง 10,000 A.  (Infrared) 1 A. เท่ากับ 1 x 10-10 M Light
     เมื่อมีแสงมาตกกระทบที่ LDR จะทำให้ค่าความต้านทานภายในตัว LDR ลดลง จะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแสงที่ตกกระทบ ในกรณีที่ไม่มีแสงหรืออยู่ในตำแหน่งที่มืดค่าความต้านทานภายในตัว LDR จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามรูปที่ 2.16 การทดสอบ LDR อย่างง่าย ๆ คือต่อสายมิเตอร์เข้ากับ LDR ตั้งย่านวัดโอห์ม หาอุปกรณ์ให้แสงสว่างเช่นไฟฉายหรือหลอดไฟ โดยให้แสงตกกระทบที่ตัว LDR ตรงด้านหน้า แล้วสังเกตค่าความต้านทานจากมิเตอร์จะมีค่าลดลง ถ้ามีอุปกรณ์ไปบังแสงทำให้มืด  ค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้น
หน่วยของความต้านทาน
     หน่วยของความต้านทานวัดเป็นหน่วย “โอห์ม” เขียนแทนด้วยอักษรกรีกคือตัว “โอเมก้า” ค่าความต้านทาน 1 โอห์มหมายถึงการป้อนแรงดันไฟฟ้าขนาด 1 โวลท์ ไหลผ่านตัวต้านทานแล้วมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 1 แอมแปร์
การอ่านค่าความต้านทาน
     ค่าความต้านทานโดยส่วนใหญ่จะใช้รหัสแถบสีหรืออาจจะพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทาน ถ้าเป็นการพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทานมักจะเป็นตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูง ส่วนตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์ต่ำมักจะใช้รหัสแถบสี ที่นิยมใช้มี 4 แถบสีและ 5 แถบสี
     การอ่านค่ารหัสแถบสี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาอาจจะมีปัญหาเรื่องของแถบสีที่ 1 และแถบสีที่ 4 ว่าแถบสีใดคือแถบสีเริ่มต้น ให้ใช้หลักในการพิจารณาแถบสีที่ 1,2 และ 3 จะมีระยะห่างของช่องไฟเท่ากัน ส่วนแถบสีที่ 4 จะมีระยะห่างของช่องไฟมากกว่าเล็กน้อย
ตัวอย่างที่ 2.1  ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี ส้ม แดง น้ำตาล และทอง มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
อ่านค่ารหัสแถบสีได้                            320 โอห์ม
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน                320 โอห์ม          ค่าผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างที่ 2.2  ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี เขียว ดำ ส้ม และเงิน มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
อ่านค่ารหัสแถบสีได้                            50,000 โอห์ม
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน                50 กิโลโอห์ม          ค่าผิดพลาด 10 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างที่ 2.3  ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี ม่วง แดง เขียว และน้ำตาล มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
อ่านค่ารหัสแถบสีได้                           7,200,000 โอห์ม
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน                7.2 เมกกะโอห์ม          ค่าผิดพลาด 1 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างที่ 2.4  ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี เหลือง เทา แดง ส้ม และน้ำตาลมีความต้านทานกี่โอห์ม ?
อ่านค่ารหัสแถบสีได้                           482,000 โอห์ม
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน                482 กิโลโอห์ม          ค่าผิดพลาด 1 เปอร์เซ็นต์
ตัวอย่างที่ 2.5  ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี ขาว แดง ดำ ดำ และแดง มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
อ่านค่ารหัสแถบสีได้                           920 โอห์ม
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน                920 โอห์ม          ค่าผิดพลาด 2 เปอร์เซ็นต์
     ค่าผิดพลาดหมายถึงความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ตัวต้านทานที่มีค่าผิดพลาด 2 % หมายความว่าความต้านทาน 100 โอห์ม ถ้าวัดด้วยมัลติมิเตอร์แล้วอ่านค่าได้ตั้งแต่ 98 โอห์ม ถึง 102 โอห์มถือว่าตัวต้านทานตัวนั้นอยู่ในสถานะปกติใช้งานได้ นอกจากนี้ยังมีตัวต้านทาน ประเภทที่พิมพ์ค่าของความต้านทานไว้บนตัวต้านทานซึ่งในตารางที่ 2.1 และ 2.2 ได้เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษเอาไว้ แต่ละตัวมีความหมายดังนี้คือ
จากรูปที่  4.13  จะมีการพิมพ์ค่าอัตราทนกำลัง,  ค่าความต้านทาน  และ  ค่าผิดพลาด จากในรูปจะเห็นว่ามีการพิมพ์อักษรภาษาอังกฤษเป็นตัว J คือผิดพลา 5 % และตัว K คือผิดพลาด 10 %

อ้างอิง http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-02.html

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Facebook คือ อะไร

Facebook คือ อะไร

Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง
 
Facebook เป็นเว็บไซต์ประเภท Social Media Website หรือ เว็บสังคมออนไลน์รุ่นใหม่ 
 

FACEBOOK คืออะไร

 
     Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ  โพสต์รูปภาพ  โพสต์คลิปวิดีโอ  เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ  เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ
 
     Facebook เป็น social network ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งถ้าในต่างประเทศ ความยิ่งใหญ่ของ facebook มีมากกว่า Hi5 เสียอีก แต่ในประเทศไทยของเรา Hi5 ยังครองความเป็นเจ้าในด้าน social network ในหมู่คนไทย
 

ประวัติความเป็นมาของ FACEBOOK

 
ประวัติfacebook
 
     Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook เมื่อปี 2548
 
     เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ซึ่งตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebookบ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้นfacebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง

FACEBOOK คืออะไร  ประวัติ FACEBOOK

     ไอเดีย เริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริงๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต
 
facebook เป็น social network
 
คำว่า Facebook มาจากหนังสือเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book
 
     เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่า อพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ
 
     ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebook โดย friendster พยายามที่จะขอซื้อ facebook เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebook ปฎิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebookมีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
Facebook
 
Facebook ยังมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา
 

FACEBOOK คืออะไร

 
     facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capital พร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
     โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น
 
     ในช่วงฤดูร้อนปี 2550 ครั้งนั้น Yahoo พยายามที่จะขอซื้อ facebook ด้วยวงเงินจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่ามาร์คได้ทำการตกลงกันด้วยวาจาไปแล้วด้วยว่า จะยอมขาย facebook ให้กับ Yahoo และเพียงแค่สองสามวันถัดมา หุ้นของ Yahoo ก็ได้พุ่งขึ้นสูงเลยทีเดียว แต่ว่าข้อเสนอซื้อได้ถูกต่อรองเหลือเพียงแค่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มาร์คปฎิเสธข้อเสนอนั้นทันที ภายหลังต่อมา ทาง Yahoo ได้ลองเสนอขึ้นไปที่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกครั้ง คราวนี้มาร์คปฎิเสธ Yahoo ทันที และได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีว่า ทำธุรกิจเป็นเด็กๆ ไปในทันที นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาร์คปฎิเสธขอเสนอซื้อบริษัท เพราะเคยมีบริษัท Viacom ได้เคยลองเสนอซื้อ facebook ด้วยวงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูกปฎิเสธไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2550
 
     มีข่าวอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ ค่อยดีสำหรับ facebook ที่ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก กับ Social Network ที่ชื่อ ConnectU โดยผู้ก่อตั้ง ConnectU ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กที่ฮาเวิร์ด ได้กล่าวหาว่ามาร์คได้ขโมยตัว source code สำหรับ facebook ไปจากตน โดยกรณีนี้ได้มีเรื่องมีราวไปถึงชั้นศาล และตอนนี้ได้แก้ไขข้อพิพาทกันไปเรียบร้อยแล้ว
 
facebook เป็นหนึ่งใน social network ต่างๆ
โลโก้ social network ต่างๆ
 
     ถึงแม้ว่าจะมีข้อพิพาท อย่างนี้เกิดขึ้น การเติบโตของ facebook ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ในฤดูใบไม่ร่วงปี 2551 facebook มีสมาชิกที่มาสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่วันละ 200,000 คน ซึ่งรวมกันแล้วทำให้ facebook มีสมาชิกมากถึง 50 ล้านคน โดย facebook มียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากวันแรกที่ facebook เป็น social network ของนักศึกษามหาวิทยาลัย จนวันนี้ สมาชิกของ facebook 11% มีอายุมากกว่า 35 ปี และสมาชิกที่มีอายุมากกว่า 30 ปีก็เข้ามาสมัครใช้ facebook กันเยอะมาก นอกเหนือจากนี้ facebook ยังเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดย 15% ของสมาชิก เป็นคนที่อยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งมีรายงานออกมาด้วยว่า ค่าเฉลี่ยของสมาชิกที่มาใช้งาน facebook นั้นอยู่ที่ 19 นาทีต่อวันต่อคน โดย facebook ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกาและเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้อัพโหลดรูปภาพสูงที่สุดด้วยจำนวน 4 หมื่นหนึ่งพันล้านรูป
 
     จากจำนวนสถิติเหล่านี้ ไมโครซอฟต์ได้ร่วมลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับหุ้นจำนวน 1.6 % ในเดือนตุลาคม 2551 ทำให้มูลค่ารวมของ facebook มีมากกว่า 15,000 ล้านบาท และทำให้ facebook เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 ในหมู่บริษัทอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ารายรับต่อปีเพียงแค่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลายฝ่ายได้อธิบายว่า การตัดสินใจของไมโครซอฟต์ในครั้งนี้ทำเพียงเพื่อที่จะเอาชนะ Google ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่จะขอซื้อ facebook ในครั้งเดียวกันนั้น คู่แข่งของ facebook ก็คือ MySpace, Bebo, Friendster, LinkedIn, Tagged, Hi5, Piczo, และ Open Social
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากhttp://www.212cafe.com

ขั้นตอนการสมัครใช้งาน facebook

 
1.  กรอกรายละเอียด ได้แก่ ชื่อและนามสกุลที่ท่านต้องการใช้ ใส่อีเมล์ ตั้งรหัสผ่าน ใส่วัน เดือน ปี เกิด และกด “ลงทะเบียน”   
 
วิธีสมัครfacebook
 
ท่านสามารถสมัครได้โดยการลงทะเบียนในหน้า www.facebook.com
 
*ถ้าไม่เคยมีอีเมล์สามารถไปดูวิธีการสมัครอีเมล์ฟรี ได้ที่หน้าสารบัญ
 
2. กรอกข้อความให้ตรงกับภาพที่ปรากฎ และกด “ลงทะเบียน”
 
วิธีสมัคร facebook
 
กรอกข้อความที่ท่านเห็นลงในช่องว่างแล้วกดลงทะเบียน
 
3. หลังจากนั้น ระบบจะให้เราทำการยืนยันอีเมล์ว่าถูกต้องจริงหรือไม่
 
4. เมื่อเข้าไปสู่เมล์ของเรา ให้เข้าไปที่ “กล่องขาเข้า” แล้วเปิดเมล์ที่ Facebook ส่งมาให้ เพื่อยืนยันการสมัคร
 
5. วิธีการค้นหาเพื่อนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ (Address Book) ของเราทำได้โดยคลิ๊กคำว่า "ค้นหาเพื่อน"
 
ขั้นตอนการสมัคร facebook
 
ค้นหาเพื่อนใน facebook โดยผ่านทางอีเมล์ของเรา
 
6. ทำการใส่ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ  เมื่อเรากรอกข้อมูลส่วนตัวเช่นสถาบันการศึกษา หรือบริษัทที่เราทางานอยู่ ให้กด “บันทึก”
 
     เนื่องจากเราใส่ชื่อมหาวิทยาลัย ระบบจึงทาการค้นหาคนที่ได้ใส่ข้อมูลมหาลัย เราสามารถขอ “เพิ่มเป็นเพื่อน” โดยการกดที่รูปที่เราต้องการ จะมีเครื่องหมายขึ้นมาดังภาพ หลังจากนั้นให้เรากด “เพิ่มเป็นเพื่อน”
 
     ถ้าเรายังไม่มีรายชื่อเพื่อนในเครือข่าย เราสามารถทาการค้นหาคนที่เรารู้จัก หรือเราสามารถชวนเพื่อนของเราที่ยังไม่เคยใช้งาน facebook เข้ามาเป็นเครือข่ายของเราได้
 
การเพิ่มเพื่อนใน facebook
 
หากต้องการเพิ่มใครเป็นเพื่อนใน facebook ให้คลิ๊กที่คำว่า "เพิ่มเป็นเพื่อน"
 
    บน Facebook นั้น เราสามารถที่จะทำการอัพเดทสถานะของตัวเราเองได้ด้วยว่า ในตอนนี้เรากำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ก็ได้ ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ดีอีกข้อนึงเลยทีเดียว สำหรับเว็บเครือข่ายสังคม Facebook
 
7. อัพโหลดรูปถ่ายของท่านลงในหน้า facebook ของท่านได้โดยเลือก อัพโหลดรูปภาพ
 
วิธีโพสต์รูป ใน facebook
 
8. เมื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถเริ่มต้นการใช้งานได้เลย
 
เริ่มต้นใช้งาน facebook

หน้าแรก facebook ของท่านที่พร้อมเริ่มต้นให้ได้ใช้งานแล้ว

การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ facebook
 
การตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ ของ facebook ของท่าน
 
9. วิธีโพสต์สถานะทำได้โดยการใส่คำลงในช่องว่างแล้วกด "แบ่งปัน" ข้อความที่เราใส่ก็จะไปสู่หน้า facebook ของเพื่อนเรา

แบ่งปันสถานะในfacebook
 
วิธีการโพสต์สถานะในหน้า facebook ให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงข้อความที่เราต้องการ
  
10. วิธีการลบโพสต์ที่เราไม่ต้องการให้ขึ้นในหน้าของเรา ด้วยเหตุผลต่างๆ สามารถทำได้โดยการคลิ๊กเครื่องหมาย x ที่มุมของโพสต์นั้นๆ ข้อความนั้นก็จะหายไปจาก facebook ทันที
 
ลบโพสต์ในfacebook
 
วิธีการลบโพสต์ออกจากหน้า facebook ของเรา
 
11. วิธีการโพสต์รูปขึ้นใน facebook ทำได้โดยการเลือก "อัพโหลดรูปภาพ" จากนั้นก็ตั้งชื่ออัลบั้ม สถานที่ แล้วเลือก "สร้างอัลบั้ม" จากนั้นจึงเลือกภาพต่างๆ ที่ต้องการ ดังภาพด้านล่างนี้
 
วิธีโพสต์ภาพ facebook
 
รูปภาพท่านสามารถอัพโหลดไฟล์ JPG, GIF หรือ PHG ขนาดไม่เกิน 4 MB
 
     เมื่อเรามี facebook เป็นของตัวเองแล้ว ต่อไปเราก็มาเริ่มรับบุญเผยแพร่บทความดีๆ มีสาระ ไปสู่หน้า facebook ของราผ่านทางเว็บ dmc.tv กันเลยดีกว่า
 

วิธีการค้นหา facebook ของ  DMC.tv

 
     ทำการค้นหา Facebook ของ www.dmc.tv ด้วยการ ใส่คำว่า dmc.tv ในช่องการค้นหาก็จะขึ้นดังภาพ
 
facebook dmc.tv
 
 
facebook ของ DMC.tv Dhamma Media Channel
 
 
facebook
 
รูปร่างของ facebook ของ dmc.tv
 
     วิธีการแบ่งปันบทความดีๆ จาก DMC.tv Dhamma Media Channal ไปสู่หน้า Facebook ของท่าน เพื่อให้เพื่อนๆ ของท่านได้รับรู้ข่าวสาร บทความดีๆ จากเว็บไซต์ ทำได้โดยการ คลิ๊กเลือก "แบ่งปัน" แล้วเขียนอะไรบางอย่างลงในช่องว่าง เพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจของผู้พบเห็น จากนั้นให้กด Share Link หรือ แชร์ ลิงค์
 
facebook ของ dmc.tv

หน้าหลัก facebook ของ DMC.tv ที่มีการอัพเดทบทความต่างๆ ไว้ให้ท่านได้แชร์

วิธีแบ่งปันใน facebook

ทำการกดแชร์ลิงค์ เพื่อแบ่งปันไปหน้า facebook ของท่าน
 
     วิธีกด “ถูกใจ” ทำได้ดังภาพ เป็นการเผยแพร่บทความธรรมะดีๆ ไปสู่ผู้ใช้ Facebook ท่านอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปนานาประเทศทางหนึ่งอีกด้วย
 
วิธีถูกใจ ใน facebook
 
นอกจากการแชร์ลิงค์ไปหน้า facebook ของท่านแล้ว
ท่านยังสามารถกด "ถูกใจ" บทความนั้นๆ ได้อีกด้วย
 
    ด้วยวิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วทั้งโลก ขอกราบอนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้
 
Facebook เฟซบุ๊ก อาจอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะวัยรุ่นยุคใหม่เริ่มเบื่อแล้ว

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เฟซบุ๊ก (Facebook) อาจมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะวัยรุ่นสมัยใหม่เริ่มเบื่อเฟสบุ๊ก เนื่องจากมีแต่การแชร์ชีวิตประจำวันโอ้อวดคนอื่นมากเกินไป และขาดความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน

          เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา แหล่งข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า นาย Blake Ross หัวหน้าฝ่ายสินค้าของเฟซบุ๊กได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัท หลังจากที่ได้ทราบรายงานของ Forbes ว่าเด็กยุคใหม่ในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มไม่สนใจเฟซบุ๊กกันแล้ว และเฟซบุ๊กก็อาจจะอยู่ได้อีกไม่นานด้วย

facebook
 

     สำหรับเหตุผลที่วัยรุ่นสมัยใหม่เริ่มไม่สนใจเฟซบุ๊กแล้ว เป็นเพราะพวกเขาคิดว่าการแชร์กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเอง ตื่นนอนก็แชร์ กินข้าวก็แชร์ ทำงานก็แชร์ ไปเที่ยวก็แชร์ ดูหนังก็แชร์ จะนอนก็แชร์ หรือแม้กระทั่งการถ่ายรูปหน้าตาของตัวเองด้วยกล้องมือถือแล้วแชร์ให้คนอื่นดูเป็นประจำ ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่น่าสนุก แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เริ่มแชร์ชีวิตส่วนตัวมากเกินไป จนดูเหมือนกลายเป็นการโอ้อวด ซึ่งดูไร้สาระและน่าเบื่อ ที่จะต้องคอยแชร์เรื่องส่วนตัวให้คนอื่นได้รับรู้อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเฟซบุ๊กยังเต็มไปด้วยบุคคลคนไม่ใช่เพื่อน มีทั้งพ่อแม่, ญาติผู้ใหญ่, ครูอาจารย์ และบุคคลอื่น ๆ ที่พวกเขาต้องคอยกังวลอยู่ตลอดเมื่อจะโพสต์หรือแชร์อะไรสักอย่าง ว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตจริงของพวกเขาไหม หากบุคคลเหล่ามาเห็นเข้า เพราะไม่ว่าจะกระทำการใด ๆ บนเฟซบุ๊ก ทุกคนก็มีโอกาสเห็นได้เสมอ ถึงแม้ว่าจะพยายามกำหนดค่าความเป็นส่วนตัวแล้วก็ตาม ทำให้ขาดความเป็นตัวของตัวเองไป เนื่องจากต้องคอยสร้างภาพ เพื่อปิดบังตัวตนที่แท้จริง
 
Tumblr
ลักษณะหน้าตาของ Tumblr


      ส่วนโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ ที่วัยรุ่นเริ่มนิยมหันไปใช้กันแทนเฟซบุ๊กก็คือ Tumblr ที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเฟซบุ๊ก โดยสามารถสร้างตัวตนได้มากกว่า 1 ตัวตน ซึ่งต่างจากเฟซบุ๊ก ทำให้สามารถระบายความเป็นตัวของตัวเองออกมาได้เต็มที่ ไม่ต้องกังวลว่าจะมีผู้ใหญ่มาเห็น อีกทั้งยังสามารถค้นหาเพื่อนที่มีความชอบและความสนใจเหมือนกันได้ง่าย ทำให้ไม่รู้สึกเหงา และนอกจาก Tumblr แล้ว บริการแชทอย่าง Snapchat ก็มีวัยรุ่นนิยมใช้เช่นกัน เนื่องเป็นบริการที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะทุกข้อความที่ส่งถึงกันจะถูกลบทันทีเมื่ออีกฝ่ายเปิดอ่าน ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครมาเห็นข้อความที่พวกเขาคุยกับเพื่อน ๆ ต่างกับเฟสบุ๊กที่มีการเก็บบันทึกข้อความที่คุยเอาไว้ทั้งหมด

          ทั้งนี้ วัยรุ่นสมัยใหม่เริ่มนิยมใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการแชร์ความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ มากกว่าที่จะเป็นการแชร์กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันแบบสมัยก่อน ซึ่งหากเฟซบุ๊กยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปก็อาจถึงเวลาจุดจบเข้าสักวัน เพราะฉะนั้นหากเฟซบุ๊กต้องการจะมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ก็คงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการให้เข้ากับความนิยมใหม่ ๆ บ้างแล้วล่ะ

          อย่างไรก็ตาม ความนิยมดังกล่าวอาจไม่เหมือนกันในทุกประเทศ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ที่ยังคงมีผู้ใช้เฟซบุ๊กนิยมแชร์กิจกรรมในชีวิตประจำวันกันเป็นปกติอยู่นั่นเอง

ข่าว Facebook ล่าสุด
 
เฟซบุ๊กเผยโฉมหน้า News Feed แบบใหม่ ดีไซน์สวยกว่าเดิม
 
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
 
FACEBOOK new feed
Facebook News Feed
          เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก (Facebook) ได้จัดงานอีเว้นท์พร้อมกับเชิญสื่อต่าง ๆ มาร่วมงาน โดยไฮไลท์สำคัญของงานนี้ก็คือการเปิดตัวหน้า News Feed (รวมข่าว) ที่มาพร้อมดีไซน์แบบใหม่ เน้นอวดรูปภาพและแสดงเนื้อหาที่โดดเด่นมากกว่าเดิม ซึ่งรูปแบบหน้า News Feed แบบใหม่จะสอดคล้องกับหน้าเว็บในเวอร์ชั่นมือถือมากขึ้น


      สำหรับงานครั้งนี้นำทีมโดย Mark Zuckerberg ได้เปิดเผยว่ารูปแบบหน้า News Feed แบบใหม่จะทำให้ผู้ใช้จะสามารถเลือกดู Feeds ต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยประสบการณ์การใช้งานจะใกล้เคียงกับเวอร์ชั่นแพลตฟอร์มมือถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน้า News Feed แบบใหม่จะทำให้ผู้ใช้เลือกอ่านสิ่งที่ตัวเองสนใจ สามารถเลือกดูทุกอย่างรวมกันตามลำดับเวลา เช่น การเลือกดูเฉพาะกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจุดเด่นของ News Feed แบบใหม่ มีดังนี้

  คอนเทนต์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนหน้า News Feed แบบใหม่จะดูมีมิติและรู้สึกน่าสนใจมากขึ้น เช่น การแชร์รูปภาพ, ลิงก์, อัลบั้ม และแผนที่ ทุกอย่างจะดูชัดเจนและน่าสนใจมากขึ้น
 
FACEBOOK new feed
Facebook News Feed

  เลือกประเภทของฟีดที่เราต้องการให้แสดงได้ เช่น ฟีดจากเพื่อนทั้งหมด (Feed from All Friends), ฟีดเฉพาะที่เป็นรูปภาพ, ฟีดเฉพาะเพลง ซึ่งอารมณ์จะคล้าย ๆ กับเรากำลังอ่านหนังสือพิมพ์และเลือกอ่านคอลัมน์ที่เราสนใจ

  หน้าเว็บ News Feed แบบใหม่กับหน้าเว็บเวอร์ชั่นมือถือจะมีรูปแบบเหมือนกันมากขึ้น โดยจะมีแถบสถานะด้านซ้าย เพื่อเลือกดูเมนูต่าง ๆ เช่น ฟีด, ข้อความ, แฟนเพจ, แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เป็นต้น (คนที่ใช้เฟซบุ๊กเวอร์ชั่นมือถือน่าจะชินกับส่วนนี้) นอกจากนี้ยังมีการบอก New Stories เพื่อมีการอัพเดทเนื้อหาใหม่ ๆ บนหน้า News Feed ซึ่งเหมือนกับเวอร์ชั่นบนมือถือนั่นเอง

          ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก จะเริ่มทยอยปรับหน้า News Feed แบบใหม่ให้กับผู้ใช้บางส่วนก่อน แต่สำหรับใครที่อดใจรอไม่ไหวอยากจะลองหน้า News Feed แบบใหม่ก่อนใคร สามารถไปแจ้งความต้องการได้ที่ facebook.com/about/newsfeed จากนั้นเลือกลงมาด้านล่างสุดและคลิกปุ่ม Join Waiting List และรอให้ทางเฟซบุ๊กอัพเดทหน้า News Feed แบบใหม่ให้กับบัญชีของเรา
 
FACEBOOK new feed
Facebook News Feed

          อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงหน้า News Feed แบบใหม่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งของเฟซบุ๊ก นับตั้งแต่มีการเพิ่ม News Feed เข้ามาในปี 2006 ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนย่อมส่งผลให้ผู้ใช้งานบางส่วนเกิดอาการไม่ชื่นชอบกับหน้า News Feed แบบใหม่แน่นอน เหมือนครั้งที่เฟซบุ๊กได้เปลี่ยนหน้าโปรไฟล์เป็นแบบ Timeline แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างมีการพัฒนาไปข้างหน้าเพื่อสิ่งที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ใช้งานควรทำใจยอมรับและปรับตัวเข้ากับระบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
 
เฟซบุ๊ก (Facebook) เปิดตัวระบบ Hashtag แล้ว สามารถระบุและค้นหาโพสต์เรื่องที่เกี่ยวข้องได้สะดวกง่ายดาย จะเริ่มทยอยอัพเดทให้ทุกคนใช้ได้เร็ว ๆ นี้

facebook

     เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้เปิดตัวระบบ Hashtag ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ อย่างเช่น อินสตาแกรมหรือทวิตเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถใส่เครื่องหมาย # ตามด้วยหัวข้อที่เกี่ยวกับข้องกับเนื้อหาในโพสต์นั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ Hashtag ดังกล่าวกลายเป็นลิงก์ให้สามารถคลิกเพื่อค้นหาโพสต์อื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ได้ และสามารถค้นหา Hashtag ต่าง ๆ จากแถบค้นหาได้ รวมทั้งยังสามารถคลิกที่ Hashtag เพื่อดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ อย่างอินสตาแกรมได้อีกด้วย นอกจากนี้ หากผู้ใช้ต้องการโพสต์เนื้อหาจากหน้าแสดงหรือหน้าค้นหา Hashtag ก็สามารถโพสต์ได้ทันทีเช่นกัน โดยทางเฟซบุ๊กจะเริ่มทยอยเปิดให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน Hashtag ได้ครบทุกคนในเร็ว ๆ นี้ หากใครที่ยังไม่สามารถใช้ได้ก็ขอให้อดใจรอกันอีกหน่อยนะจ๊ะ

     นอกจากนี้ ทางเฟซบุ๊กยังได้เปิดเผยอีกว่า ในอนาคตจะมีการอัพเดทฟีเจอร์เกี่ยวกับ Hashtag ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาโพสต์ต่าง ๆ จากผู้คนทั่วโลกได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย นับว่าเป็นการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ของเฟซบุ๊กที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย เพราะหลังจากนี้ผู้ใช้อย่างเรา ๆ ก็จะสามารถค้นหาโพสต์ที่กล่าวถึงเรื่องที่เราสนใจได้อย่างง่ายดายแล้ว
13 เม.ย. 2557 - Facebook ออกกฎใหม่ ใครปั่น like, ใส่ลิงก์ปลอม เจอดีแน่

     Facebook ออกกฎใหม่สดๆ ร้อนๆ วันนี้ ห้ามทำการปั่น like และใส่ลิงก์ปลอม โดยโทษสำหรับเพจที่กระทำการดังกล่าวก็คือการโดนลด reach ซึ่งก็หมายถึงการลดการแสดงผลจากหน้าเพจนั้นนั่นเอง

     หลังจากที่ Facebook เพิ่งออกมาแจงอัลกอริธึมที่มาที่ไปว่าก่อนหน้านี้ทำไมจึงมีนโยบายลดการแสดงผลจากหน้าเพจแต่ละแห่ง ตอนนี้ Facebook ก็ได้ออกกฎมาเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ดูแลเพจต่างๆ ได้ปฏิบัติตามกันอีก 3 ข้อ

     ห้ามขอร้องผู้ใช้ให้ทำการกด like กันอย่างโจ่งแจ้ง รวมทั้งการขอให้แสดงความเห็น หรือแบ่งปันโพสต์ใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพิมพ์ข้อความผ่านโพสต์โดยตรง หรือใช้วิธีแสดงข้อความในภาพใดๆ Facebook จะตรวจหาผู้กระทำการดังกล่าวและลดการแสดงผลของหน้าเพจนั้นลงไปอีก

    ห้ามโพสต์หรือแบ่งปันข้อความ, รูปภาพ หรือสื่ออื่นใดซ้ำแล้วซ้ำอีก (เพื่อปั่นยอด like) แม้ว่าเนื้อหาข้อความหรือรูปภาพนั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญและเปี่ยมความหมายเพียงใด แต่ผู้ที่ติดตามเพจย่อมไม่ต้องการเจออะไรที่มันซ้ำซากโผล่มาให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก หากต้องการแบ่งปันลิงก์เดิมเพื่อการใดก็ตาม จะต้องทำมันโดยการสร้างสรรค์เนื้อหาคำบรรยายใหม่ หรือใช้รูปภาพใหม่มาประกอบลิงก์

    ห้ามใส่ลิงก์โดยลวงว่ามันจะนำไปสู่ที่ใดที่หนึ่งซึ่งอันที่จริงแล้วมันไม่ใช่ เป็นต้นว่า การใส่ลิงก์พร้อมข้อความระบุว่า "ลองเข้ามาดูรูปของเราสิ" แต่ลิงก์ดังกล่าวกลับพาไปยังหน้าสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือพาไปสู่หน้าแสดงโฆษณา Facebook จะสามารถรับรู้ถึงอุบายเช่นนี้ได้และจะลงโทษผู้ที่กระทำการดังกล่าว

     เป้าหมายของการออกกฎใหม่นี้ก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้ดูแลเพจต่างๆ ได้คัดสรรและเลือกเฟ้นเนื้อหาที่มีคุณภาพน่าสนใจมาโพสต์ใน Facebook มากกว่าจะมัวหากินกับมุกเก่าๆ โดยสาละวนอยู่กับเพียงการปั่นยอด like หรือจำนวนการแบ่งปัน ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมบรรยากาศโดยรวมของแพลตฟอร์ม ให้ผู้ใช้ได้เจอประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุดบน Facebook

ที่มา - Facebook, TechCrunch 

http://www.dmc.tv/ อ้างอิง