วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีขยายพันธ์ุต้นกุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายกว่าไม้ดอกอื่น ๆ หลายชนิด คือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด  การตัดชำทั้งด้วยกิ่งและด้วยราก การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง  ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



1. การเพาะเมล็ดกุหลาบ

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที  ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน  จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป  แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่  ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

การเพาะเมล็ดกุหลาบแตกต่างจากการเพาะเมล็ดไม้ดอกทั่วๆ ไป  เริ่มต้นจากเมล็ดกุหลาบที่มีการฟักตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง  หลังจากเก็บเมล็ดมาจากต้นแล้ว  นำมาเพาะทันทีเมล็ดจะไม่งอกแม้จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างไรก็ตาม  ด้วยเหตุนี้  จึงต้องนำเมล็ดไปทำให้พ้นสภาพการฟักตัวเสียก่อน

ก.  การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว  อาจทำได้ 2 วิธีคือ

1. นำฝักกุหลาบที่แก่เต็มที่ไปฝังไว้ในกระบะที่บรรจุทรายชื้น เก็บไว้ในอุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮน์  เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว จึงเอาฝักกุหลาบมาแกะเอาเมล็ดเพาะ

2.  เมื่อตัดฝักกุหลาบมาจากต้น นำมาผ่าครึ่งด้วยมีด ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้เขี่ยเอาเมล็ดออกมา  เมล็ดกุหลาบมีลักษณะคล้ายเมล็ดแอปเปิ้ล ขนาดใกล้เคียงกัน (ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์)ฝักหนึ่ง ๆ อาจจะมีถึง 70 เมล็ด(5-70)

-  นำเมล็ดไปผึ่งลมให้แห้ง  อาจใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

-  นำเมล็ดที่ได้ไปเก็บไว้พีทมอสชื้น โดยใช้พีทมอส 3 ส่วนต่อเมล็ด 1 ส่วน

-  บรรจุส่วนผสมของพีทมอสและเมล็ดในขวดแก้วปากกว่าง  ปิดปากขวดด้วยผ้าขาวบางให้อากาศผ่านได้หรืออาจบรรจุลงในถุงพลาสติคแล้วรวบปากถุงด้วยเชือก  หรือยางรัดหลวม  พออากาศถ่ายเทได้บ้าง

-  เก็บขวดแก้วหรือถุงพลาสติคไว้ในตู้เย็น(ช่องผัก)เป็นเวลา 3 เดือน

-  ระหว่างที่เก็บต้องคอยตรวจความชื้นพีทมอสอยู่เสมอ ๆ ถ้าแห้งต้องรดน้ำเพิ่ม

-  เมื่อครบ 3 เดือนแล้ว เมล็ดจะเริ่มงอก  จึงนำเอาเมล็ดที่เริ่มงอกไปเพาะในอุณหภูมิธรรมดาต่อไป

ถ้าไม่มีพีทมอส  อาจจะใช้สแพกนั่มมอสแทนก็ได้  จากการทดลองของ ผศ.สนั่น  ขำเลิศ  ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ นส.อุบลพงษ์  แสงวานิช  ได้ใช้สแพกนั่มมอสสับเป็นท่อนยาว ¼ – ½ นิ้ว  แช่น้ำจนอิ่มตัว  แล้วจึงบีบเอาน้ำออกจนสะเด็ดน้ำ  แล้วนำไปผสมกับเมล็ดในอัตราส่วน 3 : 1 และทำต่อไปเหมือนวิธีดังกล่าวข้างต้นทุกประการ  หลังจากเก็บเมล็ดไว้ในตู้เย็นได้ 1 เดือน  ได้คอยตรวจดูความงอกของเมล็ดในถุงทุก ๆ สัปดาห์  ปรากฎว่าเมล็ดเริ่มงอก เมื่อเก็บได้ 2 ½ เดือน  จึงทยอยเอาที่งอกออกไปเพาะต่อไป

เนื่องจากเมล็ดของกุหลาบมีเปลือกหนา  เมื่อเปรียบกับไม้ดอกชนิดอื่น  การปฏิบัติการบางอย่างกับเมล็ดเช่น  การทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดบาง หรืออ่อนตัวลงเพื่อจะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น  น่าจะได้รับการพิจารณา ดังนั้น เพื่อช่วยให้เมล็ดกุหลาบงอกเร็วขึ้น  จึงได้มีการแช่เมล็ดกุหลาบในน้ำอุ่นประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 2-3 ชั่วโมงโดยใช้น้ำ 1 ส่วนต่อเมล็ด 1 ส่วน  แล้วจึงนำไปคลุกเคล้ากับสแปกนั่มมอส  หรือ พีทมอสต่อไป

ข.  การเพาะเมล็ด  หลังจากเมล็ดงอกรากออกมาแล้ว  นำเอาไปเพาะในกระถาง หรือกระบะเพาะต่อไป ในต่างประเทศใช้ส่วนผสมสูตรของ จอห์น  อินเนส(John Innes) โดยมีส่วนผสมดังนี้

1)  ดินร่วน 2 ส่วน

2)  พีทมอส 2 ส่วย

3)  ทรายหยาบ 1  ส่วน

โดยปริมาตร

ส่วนผสมนี้ 1 ลูกบาศก์หลา

เติม

-          ซูเปอร์ฟอสเฟต 2 ปอนด์

-         ปูนดิบ(ground limestone) 1 ปอนด์

หรืออาจใช้สูตรที่มีส่วนผสมดังนี้

1)  ดินร่วน  3  ส่วน

2)  พีทมอส 2 ส่วน

3)  ทรายหยาบ  1 ส่วน

โดยปริมาตร

ในเมืองไทยหาพีทมอสได้ยาก อีกทั้งราคาแพงมาก  อาจใช้ใบไม้ผุหรือขุยมะพร้าวแทนได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะดัดแปลงไปตามวัสดุที่เราหาได้รอบ ๆ ตัวเรา  โดยยึดหลักว่า ส่วนผสมนั้นจะต้อง

1)  สะอาด ปราศจากเชื้อโรค

2)  โปร่ง ระบายน้ำได้ดี

3)  อุ้มความชื้นไว้พอสมควร

4)  มีปริมาณเกลือแร่ต่ำ

5)  มีธาตุอาหารพืชพอควร

นำเอาส่วนผสมที่ได้คลุกกับน้ำให้ชื้นพอดี  ไม่ถึงกับแฉะ  แล้วบรรจุลงในกระถางหรือกระบะ  ถ้าจำนวนเมล็ดที่งอกมามีไม่มาก  อาจใช้กระถางขนาด 2 นิ้วแสตนดาร์ด(ความสูงเท่ากับความกว้างของปากกระถาง)  ถ้าจำนวนเมล็ดที่งอกมีจำนวนมากพอที่จะปลูกในกระบะ  หรือตะกร้า  โดยบรรจุส่วนผสมที่คลุกเคล้าชื้นแล้วลงไปประมาณ 2/3 ของตะกร้า  เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ  ทำร่องตามทางยาวของตะกร้า  ให้แต่ละร่องห่างกัน 1 นิ้ว ลึก 1 ซม.  โดยให้แต่ละร่องเป็นรูปตัววี (V-shape) ใช้ปากคีบ ๆ เมล็ด (อย่างเบามือที่สุด) วางลงที่ก้นร่อง  โดยให้รากจิ้มลงไปในดิน 1 ระยะห่างระหว่างเมล็ดประมาณ 1 นิ้ว เรียงเมล็ดจนครบทุกร่อง  ถ้าใช้ตระกร้าขนาด 10×14 นิ้ว  จะเพาะกุหลาบได้ประมาณ 100 เมล็ด กลบร่องด้วยส่วนผสมอันเดิม  พยายามทำให้ผิวหน้าของดินเรียบสม่ำเสมอกันทั้งตะกร้า  ด้วยการใช้ไม้ท่อนหนา 1 นิ้ว  กว้าง 2 ½ นิ้ว ยาวประมาณ 6 นิ้ว  หรือจะใช้แปรงลบกระดานดำที่ใช้แล้ว  ตบลงไปบนผิวดินเบา ๆ จะกระชับเมล็ดและราก  จะช่วยให้เมล็ดแตกยอดได้เร็วขึ้น

น้ำที่ใช้รดในระยะที่เพาะเมล็ดนี้จะต้องสะอาด  พยายามรักษาความชุ่มชื้นของดินในกระบะหรือตะกร้า หรือกระถางที่ใช้เพาะไว้ในถุงพลาสติก  รวบปากถุงไว้ให้แน่นพอสมควรก็ได้

หลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเจริญงอกใบเลี้ยงและใบจริงตามลำดับ  จะนำตะกร้าออกจากถุงพลาสติกเลยก็ได้ เพื่อว่าต้นกล้าจะได้รับแสงแดดบ้าง  แต่ไม่ควรจะได้รับแสงแดดโดยตรงเพราะกล้าที่ได้ยังเล็กนัก  ควรจะดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไปจนกว่าจะมีใบจริง 3-4 ใน  จึงจะย้ายลงกระถางเดี่ยวเล็ก ๆ (ไม่เกิน 3 นิ้ว)  โดยใช้ส่วนผสมของดินปลูก เช่นเดียวกับใช้เพาะ  ตั้งทิ้งไว้ในที่มีแสงเพิ่มขึ้น ๆ และออกแดดในที่สุด

นับจากวันย้ายกล้าจนกระทั่งมีดอกแรก  ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน

จากนี้จะย้ายลงในกระถางขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ดอกที่ให้ดอกแรก ๆ จะมีขนาดดอกเล็ก กลีบดอกน้อย สีไม่สวย ดอกต่อ ๆ ไปเมื่อต้นโตขึ้น  จะได้ดอกที่มีลักษณะและคุณภาพที่แท้จริง  ดังนั้น  ควรที่จะตัดต้นใดทิ้ง  หรือต้นไหนควรจะเอาไว้นั้นควรจะได้แน่ใจเสียก่อน

อ้างอิง http://forums.thaikasetsart.com/index.php?topic=25.0

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาทอง

                    เป็นการเลี้ยงเพื่อให้ปลาทองมีขนาดใหญ่เหมาะสมที่จะส่งตลาดต่อไป บ่อเลี้ยงปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาด 2 - 4 ตารางเมตร และควรมีจำนวนหลายบ่อ หากต้องการให้ ปลาเจริญเติบโตเร็วจะต้องจำกัดจำนวนปลาที่ปล่อยเลี้ยง โดยปล่อยในอัตรา 50 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ควรทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยลงบ่อเลี้ยง จากนั้นเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดประมาณ 40 - 60 วันปลาจะเติบโตจนสามารถส่งจำหน่ายได้ เมื่อส่งปลาออกจำหน่ายแล้วก็ทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยเลี้ยงอีกต่อไป สำหรับลูกปลาที่เหลืออยู่ในบ่ออนุบาลซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการให้อาหารดีและมีการถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ลูกปลาก็จะเจริญเติบโตขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากจำนวนปลาเป็นข้อจำกัด แต่เมื่อถูกกระจายออกไปยังบ่อเลี้ยงก็จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
            ปัจจุบันมีการอนุบาลและเลี้ยงปลาทองในบ่อดิน  โดยใช้บ่อขนาด 100 - 200 ตารางเมตร
.
ตัวอย่างฟาร์ปลาทองที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีบ่อซิเมนต์ 487 บ่อ ในพื้นที่ 2 ไร่
ปลาสิงห์ญี่ปุ่นเกรดเอ รอจำหน่ายอุปกรณ์ในการล้างบ่อ
เติมด่างทับทิมฆ่าเชื้อป้องกันโรคบ่อดินสำหรับอนุบาลลูกปลา
 ภาพที่ 31  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
.
 ภาพที่ 32  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศจีน มีการจัดทัวร์ชมฟาร์ม 
                                           ที่มา : Vermilliongoldfishclub.com (2006)                          
 . 
 
 ภาพที่ 33  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทอง( Siamaquarium )ในประเทศไทย 
                                             ที่มา : Siamaquarium.com (2010)

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การแพร่พันธุ์ของปลาหางนกยูง

การแพร่พันธุ์ของปลาหางนกยูง                   
                ตามปกติปลาหางนกยูงจะสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนในบ่อเลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบ่อเลี้ยงที่มีพรรณไม้น้ำอยู่มาก ทั้งนี้เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว และสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีเกือบตลอดปี เมื่อปลาเติบโตเจริญวัยถึงขั้นสมบูรณ์เพศ   ปลาเพศผู้ก็จะเข้าผสมพันธุ์กับปลาเพศเมีย โดยยื่นท่อส่งน้ำเชื้อเข้าไปทางช่องสืบพันธุ์ของเพศเมีย   แล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในท้องของปลาเพศเมีย ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ภายใน   จากนั้นไข่ก็จะมีการพัฒนาต่อไป จนฟักออกเป็นตัวก็จะถูกปล่อยหรือคลอดออกจากแม่ปลา ลูกปลาที่คลอดออกมาใหม่ๆจะมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ที่เกิดจากการผสมภายนอกและยังค่อนข้างมีความแข็งแรง คือสามารถว่ายน้ำอย่างรวดเร็วเพื่อหาที่หลบซ่อน มิฉะนั้นจะถูกแม่ปลาหรือปลาตัวอื่นจับกินเป็นอาหาร ผู้เลี้ยงปลาหางนกยูงทั่วไปจึงสามารถพบลูกปลาเกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงได้  
.
   
ภาพที่ 7  แสดงการคลอดลูกของแม่ปลาหางนกยูง
                                                   ที่มา : Frank (1971)
                    การเจริญเติบโตของปลาหางนกยูงจากเล็กจนโตเต็มวัย จะใช้เวลาประมาณ  2 - 3 เดือน  ปลาเพศเมียจะให้ลูกได้ครอกละประมาณ 30 - 90 ตัว ขึ้นกับขนาดของปลา คือ  ในช่วงแรกๆแม่ปลายังโตไม่เต็มที่จะให้ลูกครอกละประมาณ 30 - 40 ตัว เมื่ออายุมากขึ้นขนาดใหญ่ขึ้นจะให้ลูกครอกละประมาณ  40 - 60 ตัว และเมื่ออายุมากกว่า  1 ปี  จะให้ลูกครอกละประมาณ 50 - 90 ตัว และหลังจากที่คลอดลูกแล้ว จะสามารถให้ลูกครอกต่อไปได้อีกในเวลาประมาณ 25 - 35 วัน แล้วแต่ขนาดของปลา การถ่ายน้ำ   และอาหารที่ได้รับ คือ แม่ปลาขนาดเล็กจะให้ลูกครอกต่อไปเร็ว การเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆก็ช่วยให้มีการตั้งท้องและตกลูกเร็วขึ้น นอกจากนั้นการเลือกใช้อาหารที่ดี และให้อาหารสม่ำเสมอก็ช่วยให้ปลาตกลูกเร็วขึ้นเช่นกัน