การคัดเลือกไก่ชน
ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์ไก่ชน
1. รูปร่างลักษณะภายนอก 2. ความกลมกลืนของสีขน สีแข้ง สีของตา และ จงอยปาก 3. ความอดทน 4. ชั้นเชิงการชน 5. ขนาด น้ำหนักและการจับ 6. การไข่ การฟักออกและการเลี้ยงลูก 7. ลักษณะเด่นพิเศษในตัวไก่ เช่น การดูเกล็ดแข้ง ข. การคัดเลือกไข่พันธุ์เพื่อนำมาฟัก ไก่สาวที่ไข่ครั้งแรก จะไม่นิยมให้แม่ไก่ฟักเพราะฟองไข่ยังมีขนาดเล็กและยังไม่มีความสม่ำเสมอกัน ถ้านำไปฟักจะได้ลูกไก่ขนาดเล็กเมื่อนำมาเลี้ยงและโตขึ้นจะไม่ได้ขนาดที่จะนำมาเ ลี้ยงชน การคัดเลือกไข่พันธุ์ให้แม่ไก่ฟักจึงนิยมเมื่อแม่ไก่ไข่รอบที่ 2 เป็นต้นไป ค. การคัดเลือกไก่เพศผู้ไว้ทำพันธุ์หรือเพื่อนำไปชน 1. การคัดเลือกลูกไก่และไก่รุ่นเพศผู้ พิจารณาจาก - ลูกไก่ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว - โครงสร้างร่างกายใหญ่ โครงกระดูกใหญ่แต่การจับลำตัวดี - รูปร่างลักษณะของร่างกายมีความสมดุลย์และกลมกลืนกัน - สุขภาพดี ร่าเริง สีผิวหนังแดงสดใส - ลักษณะพิเศษของไก่ชน (เกล็ดแข้งและสีแข้ง ปาก และ ตา) - ชั้นเชิงการชน 2. การคัดเลือกไก่หนุ่มเพื่อเลี้ยงชน พิจารณาจาก - รูปร่างลักษณะภายนอกและโครงสร้างของกระดูก - สีของไก่ชน - ขนาด สัดส่วน และ การจับ - ความอดทน - สายพันธุ์หรือพันธุกรรมดี - ชั้นเชิงการชนดี - ความขยัน ความแม่นยำ และความหนักแน่นของการเตะ - ลักษณะพิเศษในตัวไก่ชน เช่น การดูเกล็ดแข้ 3. การคัดเลือกไก่ชนเพศผู้ไว้ทำพันธุ์ พิจารณาจาก - ผ่านการชนชนะในสนามชนไก่ (ประวัติการชน) - ชั้นเชิงการชนที่จะเข้ากับแม่ไก่ - ขนาด สัดส่วนและการจับ - สายพันธุ์หรือพันธุกรรมดี ง. การจัดระบบการผสมพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ไก่ชนที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์แล้ว ก็จะนำมาจัดระบบการผสมพันธุ์ ซึ่งนิยมการผสมเดี่ยวหรือ ใช้พ่อพันธุ์เพียงตัวเดียวคลุมฝูงแม่ไก่ชนหลายตัวในแต่ละปี เพื่อจะได้ทำการทดสอบผลการให้ลูกได้ การให้ลูกไก่ชนแต่ละปีเมื่อโตเป็นหนุ่มอายุ 8-10 เดือนขึ้นไป ก็จะนำไปฝึกซ้อม ถ้าชนเก่ง ก็จะปล่อยให้พ่อพันธุ์ได้คุมฝูงต่อไปอีก ถ้าให้ลูกแล้วนำไปฝึกซ้อมปรากฏว่าชนไม่เก่งก็จะถูกเปลี่ยนออกจากการคุมฝูง การจัดระบบการผสมพันธุ์ไก่ชน จะทำการผสมพันธุ์ไก่อยู่ 2 ช่วง 1. ช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เป็นช่วงหยุดพักการชนของพ่อไก่ เพราะ พ่อไก่กำลังจะผลัดขน ก็จะนำพ่อไก่มาผสมพันธุ์กับแม่ไก่ และฟักออกลูกแล้วนำมาเลี้ยงให้เจริญเติบโตเป็นหนุ่มมีอายุครบ 1 ปี พร้อมจะนำมาชนได้ในปลายฤดูแล้ง เข้าต้นฤดูฝนของปีถัดไป 2. ช่วงต้นฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นช่วงที่พ่อพันธุ์ผลัดขนใกล้จะเต็ม ก็จะรับผสมพันธุ์ให้เสร็จก่อนที่จะนำพ่อพันธุ์กลับมาเลี้ยงใหม่ในปีถัดมา ลูกไก่ชนที่เกิดในระหว่างการผสมพันธุ์ในช่วงนี้ จะเป็นหนุ่มและนำมาเลี้ยงชนได้ตั้งแต่ต้นฤดูหนาว ถึงปลายฤดูร้อนของปีถัดไป ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการผลิตอาหารเลี้ยงไก่ชน< br> ก. การใช้อาหารหลักร่วมกับอาหารอื่นๆ เลี้ยงไก่ชน การใช้อาหารเลี้ยงไก่ชนเพศผู้ และ เพศเมียจะมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นแม่ไก่ ลูกไก่ และไก่รุ่น จะให้กินข้าวเปลือก ข้าวสุก ข้าวสาร เศษอาหาร เศษพืชผักตามไร่นา หรือ หากินอาหารตามธรรมชาติ ส่วนไก่ชนเพศผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป ที่จะเริ่มนำมาฝึกซ้อมเพื่อชนจะต้องนำมาขังสุ่มให้กินข้าวเปลือกเป็นอาหารหลัก วันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ส่วนอาหารเสริมบำรุงสุขภาพอื่น ๆ ที่นำมาใช้เลี้ยงไก่ชนได้แก่ ปลาช่อนป่น หญ้าสด น้ำผึ้ง บอระเพ็ด กระชาย กล้วยน้ำว้า อาหารเสริมอื่นที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น ลูกเขียด ลูกหนู นกกระจอก จิ้งจก งู เนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ข. การนำพืชสมุนไพรมาใช้เลี้ยงไก่เพื่อชน 1. พืชสมุนไพรที่ให้ไก่กินเพื่อเพิ่มปริมาณการกินและการย่อยได้ การนำพืชสมุนไพรมาให้กินเป็นประจำให้แต่ละวันก่อนให้กินอาหารอื่น คือ บรเพ็ดและกระชาย ให้กินเพียงวันละครั้ง พืชสมุนไพรชนิดอื่นจะให้เสริมเป็นครั้งคราว เช่น หัวหอม กระเทียม ไพล พริกไทย แห้วหมู มะขามเปียก มะเขือเทศสุก ฯลฯ 2. พืชสมุนไพรที่นำมาต้มเพื่อเช็ดตัวไก่ชน จะนำพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น ไพล ตะไคร้ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ขมิ้น ใบไผ่ ใบอ้อย และลำต้น ใบมะกรูด ใบหนาด ฯลฯ นำมาต้มวันละครั้งตอนเช้า และนำน้ำต้มสุกมาเช็ดตัวไก่ หลังจากนั้นก็จะนำไก่ที่เช็ดน้ำแล้วมาติดขมิ้นกับปูนก่อนจะนำไปตากแดด ค. การใช้สมุนไพรมาใช้กำจัดพยาธิภายในและภายนอก การจำกัดพยาธิภายในที่ได้ผลดี คือ การใช้ลูกหมากที่เนื้อยังอ่อนนำมาผ่า - ส่วน โดยจะนำมาชุบน้ำมันพืช หรือ น้ำมันหมูหรือมะขามเปียกให้กิน 1-2 ชิ้น แล้วกรอกน้ำตามลงไปมาก ๆ ขังอยู่ในสุ่มประมาณ 30 นาที ขึ้นไป พยาธิจะถูกขับออกมาทางสิ่งขับถ่าย การกำจัดพยาธิทุกครั้ง ก่อนถ่ายจะต้องให้ไก่อดอาหารก่อนหรือนิยมทำในช่วงเวลาเช้าช่วงที่ไก่ท้องว่าง การกำจัดพยาธิภายนอก เช่น หมัด เหา ไร นิยมใช้ขมิ้นผสมปูนแดงหรือปูนขาวที่ใช้เคี้ยวหมาก ทาขนตามตัวและผิวหนัง ในไก่ที่กำลังเลี้ยงชน พยาธิในตาไก่ที่เลี้ยงเพื่อชน นิยมกำจัดโดยใช้ยาฉุนชุบน้ำหยอดตาแล้วใช้สำลี เช็ดพยาธิออกจากตาไก่หรือบีบน้ำจากลูกมะเกลือหยอดตาไก่ พยาธิก็จะออกมาทันที |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น