การดูแลไก่ชน หลังชนมา
เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย่างไร
เมื่อไก่ชนะระหว่างยก 3-5
ควรตรวจสอบดูว่ามันบาดเจ็บตรงจุดไหนบ้าง เมื่อตรวจพบบาดแผล ต้องรีบรักษาโดยด่วน เมื่ออาการบาดเจ็บหายดีแล้วยัง
ไม่ควรอาบน้ำร้อน ควรให้อาบน้ำธรรมดาไปก่อน แล้วปล่อยลงดินให้มันได้คลุกฝุ่นบ้าง เพื่อเป็นการคลายความตึงเครียดของร่างกาย เมื่อมันนอนคลุกฝุ่น ดีแล้วก็จับมาอาบน้ำเย็นและทำการซ้อมเบา เพื่อวอร์มร่างกายให้คืนสภาพเดิม เมื่อดูว่าร่างกายคืนสถาพเดิมดีแล้ว นำไปซ้อมจริง 1 ยก แล้วนำมาเลี้ยงตาม ปกติ เพื่อเตรียมพร้อมในการออกชนต่อไป และการอาบน้ำร้อนควรไม่เกิน 15 วันสำหรับไก่ชนที่ชนะมา
ส่วนไก่ชนที่ชนะตั้งแต่ยก 6 ขึ้นไป
ก็ทำเหมือนกัน ถ้ามีแผลที่ใบหน้าก้รีบรักษาโดยทันที เมื่อบาดแผลเริ่มเป็นสะเก็ดแข็ง และแห้ง ควรถ่ายยาแก้ช้ำใน หลังจากถ่ายยาแล้ว สะเก็ดแผลหลุดหมดแล้ว ก็เริ่มทำการออกกำลังกายได้
ไก่ชนเมื่อหมดสภาพไม่ควรทำลาย
ไม่ว่าไก่จะแพ้หรือหมดสภาพ จะต้องคิดก่อนว่าจะทำอย่างไร ห้ามทำลายหรือปล่อยทิ้ง ทางที่ดีต้องตอบแทนบุญคุณมันบ้าง โดยการหาที่ว่างๆสักหน่อยพอที่ จะให้มันอยู่กับตัวเมียที่เราหามาให้ เพาะเอาลูกมันไว้สักคอกหนึ่ง เมื่อเราเอาใจใส่กับมันสภาพจิตใจมันก็จะดีขึ้น และอาจจะให้ลุกไก่ชนดีๆสักคอกก็ได้ ไก่ชน ทุกตัวมันจะคุ้นเคยกับเจ้าของที่เลี้ยงมัน เมื่อมันเห็นคนเลี้ยง มันก็จะแสดงอาการดีใจ คนเลี้ยงไก่ชนจะมีความผูกพันกับไก่เป็นพิเศษ เราต้องรู้จักเอาใจใส่มัน ให้ดีและดูแลให้ความรักกับมัน ไก่ชนก็มีจิตใจเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทิ้งขว้าง ควรเก็บและรักษามันไว้ให้ดี
การทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงไก่ชน
เรื่องความสะอาดต้องมาเป็นอันดับแรก เพราะบริเวณที่เลี้ยงไก่ นอกจากไก่ชนแล้วอาจมีสิ่งอื่นๆ เช่น เห็บ ไร ที่มีตามตัวไก่ หรือแม้แต่สุ่มขังไก่ก็อาจจะมี ไรเกาะอยู่ ถ้าสังเกตดีๆไรจะเกาะอยู่ตามหัวสุ่ม
ขี้ไก่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรทำความสะอาดทุกครั้ง เช่น ขี้ไก่อาจจะติดใต้อุ้งเท้าไก่ เมื่อมันแห้งก็จะติดอยู่อย่างนั้น เมื่อมันกระโดดหรือเดินย่ำอยู่เรื่อยๆ มันก็ จะไปหนุนใต้อุ้งเท้า ทำให้อุ้งเท้าแข็งจนเป็นไตหรือก้อนเนื้อแข็งใต้อุ้งเท้า หรือที่เราเรียกว่า " หน่อ" หรือไม่อาจจะมีพยาธิติดมากับขี้ไก่ ไก่ก็จะติดพยาธิได้ ฉะนั้นเมื่อจะนำไก่เข้านอนควร ทำความสะอาดทุกครั้ง เมื่อบริเวณที่เลี้ยงไก่สะอาด สุขภาพของไก่ก็จะดีมีความสมบูรณ์
การดูแลรักษาไก่หลังจากชนมาแล้ว
หลังจากที่นำไก่ออกมาจากสังเวียนแล้ว ให้กราดน้ำเช็ดตัวไปตามปกติ เช็ดตามบริเวณใบหน้าที่มีเลือดติดอยู่ออกให้หมด ถ้าเช็ดออกไม่หมดอาจทำให้เกิดปรวดได้ และถ้ามีแผลเย็บไว้ จะเป็นแผลถ่างตา แผลตามหัว เข้าปากไว้ ให้ตัดด้ายที่เย็บไว้ออกให้หมด เพราะถ้าไม่ตัดด้าย อาจจะทำให้แผลหายช้า หรือแผลหายไม่สนิทเหมือนเดิม ตัดด้ายออกให้หมดแล้วเช็ดด้วยกระเบื้องให้แห้ง ทาด้วยยาเพนนิสรินใส่แผลชนิดขี้ผึ้งทาทิ้งไว้
ถ้าไก่ถูกตีมากๆ ขนาดมาถึงบ้านแล้วยังไม่ลุก นอนตลอดเวลา ให้เอาน้ำเกลือแห้งนิวเพาร์เวอร์ครึ่งซองผสมน้ำพอประมาณ ให้กินแทนข้าวไปก่อนสัก 2 วันเช้า-เย็น พร้อมกับยาแก้อักเสบให้กินวันละ 1 เม็ด ในระยะ 2 วัน ห้ามกินข้าวสุก ข้าวเปลือกเป็นอันขาด โดยเฉพาะกล้วย เพราะกล้วยนั้นย่อยยากมาก ควรให้น้ำเกลือไปก่อน หลังจาก 2 วันไปแล้ว ลองเอาข้าวสุกให้กินก่อนให้กินกับน้ำเกลือก็ได้ ให้มื้อละ 2-3 ก้อน เช้า-เย็น แล้วลองสังเกตดูว่าย่อยหมดกระเพาะไหม ถ้าย่อยหมดก็ให้กินเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ให้ยาบำรุงร่างกายด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้ไก่ฟื้นตัวเร็ว พอไก่ฟื้นตัวแล้วควรปล่อยให้ไก่อยู่ในที่กว้างๆที่มีหญ้าแพรกสดให้กิน อย่าให้อยู่แต่ในสุ่มเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไก่ตึง หลังจากไก่ฟื้นตัวได้ 15 วัน ควรถ่ายยาลุภายในร่างกายที่ถูกตีมา ถ่ายช้ำใน ถ่ายด้วยยาสมุนไพร ไม่ใช่ใช้ยาถ่ายพยาธิถ่าย ถ่ายในร่างกายให้หายจากการฟกช้ำดำเขียว หลังจากถ่ายยาลุได้ 7 วัน ลองให้ไก่วิ่งสุ่มเบาๆไปก่อน เพื่อเป็นการยืดเส้น ยืดสายไปในตัว ยาถ่ายลุนี้ทำด้วยสมุนไพรมีดังนี้
1. ไพล 2 หัวใหญ่
2. เกลือแกงครึ่งช้อนแกง
3. น้ำตาลปีบ 1 ช้อนแกงพูน
4. มะขามเปียก 1 ปั้น
5. ยาดำเล็กน้อย
เอามาตำให้ละเอียด ผสมกันให้เข้ากันดี ให้กินครั้งละ 2-3 ก้อนเท่าหัวแม่มือ แล้วให้น้ำอุ่นๆกินให้เกือบเต็มกระเพาะ ทิ้งไว้ในบริเวณที่สะอาดๆ และต้องคอยดูด้วยว่าไก่ถ่ายยาออกหมดหรือยัง คลำดูกระเพาะจะรู้ ถ้าหมดแล้วควรให้กินข้าวสุกทุกครั้ง ไก่เวลาถ่ายยาแล้วให้กินข้าวเปลือกส่วนมากจะไม่ค่อยย่อย หรือย่อยไม่หมด ควรให้กินข้าวสุกก่อนเป็นการดี
ถ้าไก่ที่ชนมาแล้วตามเนื้อตามตัวมีรอยฟกช้ำดำเขียว ให้เอาเคาร์เตอร์เพนบาล์ม ทาตามรอยที่ฟกช้ำบางๆ เอานิ้วชี้ขยี้ให้ทั่วบริเวณที่ฟกช้ำ อย่าใช้ยามากจนเกินไป เพราะเคาร์เตอร์เพนบาล์มเป็นยาร้อน แต่ถ้าใช้บางๆแผลฟกช้ำของไก่จะหายเร็วกว่ายาชนิดอื่นๆ อย่าเอาไปทาที่แข้งของไก่เป็นอันขาด ถ้าทา เกล็ดของไก่จะหลุดหมด ทาได้ตามเนื้อหนังเท่านั้น ส่วนที่เป็นเกล็ดห้ามทา
อ้างอิง http://www.kaichon.com/kailangchonma.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น