วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

หลอดสูญญากาศ

เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลอดสูญญากาศรวมถึงการทดสอบคุณสมบัติของหลอด เบอร์ต่างๆ


ถ้าจะพูดถึงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนั้นมีการใช้งานอยู่หลายด้านมากๆ โดยส่วนใหญ่ก็มีการพัฒนาในรูปแบบของวงจรให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือจะพัฒนาในลักษณะของวงจรให้มีวงจรที่เล็กลงหรือขนาดที่เล็กลงแต่ประสิทธิภาพการทำงานนั้นไม่ได้ลดน้อยตามไปด้วย หรือจะเป็นการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานโดยผู้ออกแบบส่วนใหญ่อาจจะคิดนำเอาอุปกรณ์แบบต่างๆ มาทดลองเพื่อให้วงจรนั้นๆ ทำงานได้ดีมากขึ้น ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเสียงที่หลายๆ คนสนใจ นั้นก็คืออุปกรณ์หลอดสูญญากาศ ที่ใช้ในงานเครื่องเสียงนั้นเองครับ


ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้จะขอกล่าวถึงพื้นฐานที่เกี่ยวกับหลอดสูญญากาศ ที่เราควรจะทราบนะครับว่ามีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจในตัวหลอดสูญญากาศมายิ่งขึ้น ก่อนที่เราจะมาทำการทดสอบถึงคุณสมบัติการทำงานของหลอดสูญญากาศต่อไป และยังรวมไปถึงการออกแบบวงจรที่ใช้หลอดสูญญากาศด้วยนะครับ รับรองว่าสนุกอย่างแน่นอนครับ ??? …ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจในความหมายของ…“ หลอดสูญญากาศ ”… กันก่อนนะครับ


1.) ความหมายของหลอดสุญญากาศ


รูปที่ 1 หลอดสูญญากาศ (1)


ซึ่งถ้าเราจะกล่าวถึงหลอดสูญญากาศก็พอที่จะสรุปได้ว่าหลอดสูญญากาศนั้นเป็นอุปกรณ์แบบ Active นะครับ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 1 (ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถให้อัตราขยายสัญญาณทางด้านเอาท์พุตที่มากกว่าสัญญาณที่ป้อนเข้ามาทางด้านอินพุตนั้นเองครับ แต่อุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีไฟเลี้ยงให้มันด้วยนะครับ) ดังนั้นตัวของหลอดสูญญากาศจึงสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มขยายสัญญาณทางไฟฟ้าได้นั้นเองครับ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลที่เราจะนำคุณสมบัตินี้ไปเป็นพื้นฐานในการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวกับสัญญาณในรูปแบบอนาลอกนั้นเองครับ นั้นก็หมายถึงว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองครับ หรือที่เรียกว่าการมอดูเลท (modulated) นั้นเอง โดยที่กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในส่วนของวงจรแล้วก็จะออกมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยในการมอดูเลต (modulate) นี้ นะครับก็จะขึ้นอยู่กับผลกระทบทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ภายในหลอดทั้งหมดครับ ที่จะทำให้เกิดคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไปนั้นเอง โดยในบทความนี้ก็จะขอกล่าวถึงความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับหลอดสุญญากาศที่ควร รู้นะครับ ก่อนที่เราจะนำมาประยุกต์ใช้งานในการออกแบบวงจรในส่วนอื่นๆ ต่อไปครับ มาดูกันเลยนะครับ…???


2.) ความหมายของอิเล็กตรอนในหลอดสุญญากาศ


รูปที่ 2 หลอดสูญญากาศ (2)


ในส่วนของอิเล็กตรอนในหลอดสูญญากาศนั้น ก็หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่ได้ไหลผ่านหลอดสุญญากาศนั้นเองครับ โดยจะประกอบไปด้วยอนุภาคของอิเล็กตรอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ครับ และจะมีคุณลักษณะทางขั้วไฟฟ้าเป็นขั้วลบครับ โดยอนุภาคขั้วลบนี้จะผลักและไม่เข้าใกล้อนุภาคขั้วลบตัวอื่นครับ แต่มันจะวิ่งเข้าหาอนุภาคขั้วบวกแทนนั้นเองครับ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2


3.) การเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนในหลอดสูญญากาศ


ถ้าจะกล่าวถึงอิเล็กตรอนในหลอดสูญญากาศนั้น ก็พอที่จะอธิบายได้ดังนี้ครับ โดยที่อิเล็กตรอนเมื่อมีการเคลื่อนที่ภายในหลอดสุญญากาศ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสนามไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมายังหลอดสูญญากาศ และถูกสร้างขึ้นมาเมื่อสัญญาณไฟฟ้าอยู่บนแผ่นเหล็กตัวนำนั้นเองครับ โดยสัญญาณไฟฟ้าที่ได้นี้เราเรียกว่า แรงดัน(โวลท์เตจ : Voltage) นั้นเองครับ โดยที่ค่าของแรงดันที่ได้ออกมานั้นจะเป็นตัวบ่งบอกถึงพลังงานของสัญญาณที่ถูกบรรจุอยู่ในหลอดนั้นเองครับ โดยถ้าค่าของแรงดันมีค่ามาก ในส่วนของค่าความเข้มของสนามไฟฟ้าก็จะมากตามไปด้วยครับ และจะส่งผลให้มีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสนามเกิดขึ้น ซึ่งอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ในสนามนี้จะมีลักษณะเป็นขั้วบวกหรือขั้วลบนั้น ก็จะได้ขึ้นอยู่กับตัวของหลอดสุญญากาศครับ ว่ามันถูกสร้างมาจากแรงดันที่มีลักษณะเป็นบวกหรือเป็นลบนั้นเองครับ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้สนามไฟฟ้าดึงดูดหรือผลักอิเล็กตรอนก็สามารถทำได้ครับ และการที่อิเล็กตรอนวิ่งผ่านในหลอดสูญญากาศนี้ก็เป็นเพราะสนามไฟฟ้าออกแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนนั่นเองครับ โดยค่าของกำลังของสนามไฟฟ้าและพลังงานภายในจะแตกต่างกันกับแรงดัน(โวลท์เตจ)ของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นมา โดยที่ปริมาณการไหลผ่านของอิเล็กตรอนนี้เราจะเรียกว่า กระแส (Current) ที่มีหน่วยการไหลของกระแสเป็นแอมป์ (A) นั้นเองครับ


รูปที่ 3 หลอดสูญญากาศ (3)


4.) ส่วนประกอบของหลอดสุญญากาศ


รูปที่ 4 หลอดสูญญากาศ (4)


ที่นี้เรามาดูในส่วนประกอบของหลอดสุญญากาศกันบ้างนะครับ ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงในการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนก็คงจะบอกได้ว่าคงจะมีการเคลื่อนที่อยู่ภายในหลอดสุญญากาศเท่านั้น ดังนั้นในส่วนประกอบของหลอดสูญญากาศจะต้องถูกแยกออกมา โดยในส่วนประกอบนี้จะถูกผนึกไว้ภายในหลอดแก้วสูญญากาศ ซึ่งภายในหลอดแก้วสูญญากาศนี้จะต้องไม่มีอากาศที่จะรั่วเข้าไปหรือไม่สามารถที่ผ่านเข้าไปภายในได้ ไม่อย่างนั้นแล้วอณูของอิเล็กตรอนก็จะถูกแทรกแซงได้นั้นเองครับ เพราะถ้ามีอากาศจากภายนอกผ่านเข้าไป ตัว ของอากาศนั้นจะเข้าไปทำปฏิกิริยาทางเคมีภายในและจะทำลายสภาพภายในจนหมด นั้นเองครับ ดังนั้นหลอดสูญญากาศจะต้องถูกหุ้มกันการรั่วไหลของอากาศไว้อย่างดีนั้นเอง และในส่วนของขาของหลอดสูญญากาศที่อยู่ด้านล่างนั้นก็จะถูกใช้สำหรับการ เชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าที่เราจะทำไปใช้งานด้วยในวงจรต่างๆ ต่อไปนั้นเองครับ และเมื่อเรานำหลอดสุญญากาศนี้ไปใช้งาน โดยที่หลอดสูญญากาศเริ่มทำงานเราก็จะพบว่าอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นนั้นมันจะเกิดขึ้นจากส่วนใดก็ไดในส่วนประกอบของหลอดทั้งหมด ซึ่ง อิเล็กตรอนจะประกอบด้วยอะตอมที่หนาแน่น และอะตอมนี้จะจับติดกันเอง ก็จะได้เป็นอิเล็กตรอนซึ่งมันสามารถเคลื่อนที่จากอีกอะตอมไปยังอีกอะตอม หนึ่งซึ่งจากการเคลื่อนที่ของอะตอมนี้ก่อให้เกิดพลังงานทางไฟฟ้านั้นเองครับ


รูปที่ 5 หลอดสูญญากาศ (5)


และถ้ากล่าวถึงคุณสมบัติภายในหลอดสูญญกาศแล้ว ก็ จะพบว่าอิเล็กตรอนนั้นจะถูกเหนี่ยวนำโดยวัตถุชนิดหนึ่งให้มีการเคลื่อนที่ไป ในสูญญากาศ ซึ่งก็คือการแยกทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของอะตอมนั้นเองครับ และจะทำให้เกิดพลังงานที่เกิดขึ้นจากตัวของอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวหรือที่ เราเรียกว่า Work Function แต่โดยปกติแล้วหลอดสูญญกาศถ้าใช้วัสดุที่เหมาะสมก็จะเกิดพลังงาน Work Function ที่ต่ำเพราะว่าหลอดสูญญากาศต้องการพลังงานเพียงน้อยนิดเท่านั้นครับ ซึ่งก็คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ดีของหลอดสูญญากาศนั้นเอง และแหล่งกำเนิดของตัวอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในหลอดสูญญากาศนี้เราจะเรียกว่า แคโทรด (Cathode)


5.) Tube as a heat-powered engine


ที่นี้เรามาดูในส่วนประกอบอีกส่วนของหลอดสุญญากาศกันต่อนะครับ โดยถ้าเราพิจารณาหลอดสุญญากาศดูเราจะเห็นได้ว่าหลอดสุญญากาศนี้จะทำงานและให้พลังงานความร้อนออกมา โดยที่แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อนนี้จะช่วยทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากแคโทรด ซึ่งกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า Thermionic emission โดยหลอดสูญญากาศนี้จะเกิดพลังงานความร้อนจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนนั้นเองครับ และพลังงานความร้อนจะทำให้อิเล็กตรอนเกิดการกระเพื่อมจากแคโทรดแล้ววิ่งไปยังอีกจุดหนึ่งครับ


และแหล่งกำเนิดพลังงานความร้อนของหลอดสูญญากาศนี้ก็คือไส้ของหลอดสูญญากาศนั่นเองครับ หรือเราเรียกว่า (Filaments) ถ้าจะเปรียบก็คงจะเหมือนกับหลอดไฟที่มีไส้หลอดนั้นเองครับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ร้อนเท่ากันหลอดสุญญากาศนะครับ ซึ่งในหลอดสูญญากาศบางชนิดไส้หลอดกับขาแคโทรดจะเป็นอันเดียวกันครับ และเมื่ออิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ออกมาจากแคโทรดแล้วก็จะเคลื่อนที่ไปยังอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บอิเล็กตรอนครับ ซึ่งเราจะว่าแผ่นเพลต (Plate) หรือขา แอโนด (anode) นั่นเองครับ ซึ่งขาแอโนดนี้จะมีประจุเป็นบวกเสมอครับ และก็จะเป็นตัวจ่ายไฟไปยังวงจรภายนอกหลอดต่อไป และด้วยเหตุที่แผ่นเพลตมีประจุเป็นบวก อิเล็กตรอนมีประจุเป็นลบ อิเล็กตรอนจึงวิ่งเข้าหาแผ่นเพลตทันทีทันใดนั้นเองครับ เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะเข้าใจในหลักการทำงานของหลอดสุญญากาศมากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ แต่ยังไม่จบแค่นี้นะครับสำหรับเรื่องของหลอดสุญญากาศ…?? มาดูกันต่อครับ


รูปที่ 6 หลอดสูญญากาศ (6)


และในส่วนประกอบของหลอดสุญญากาศนั้น ถ้าเรามาพิจารณาดูระหว่างขาเพลตกับขา แคโทรด เราก็จะพบว่าจะมีขาของอุปกรณ์อีกขาหนึ่งที่เรียกว่า กริด (Grid) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดสนามไฟฟ้าขึ้นภายในหลอดสูญญากาศนั้นเองครับ (และยังส่งผลออกไปภายนอกหลอดอีกด้วยเช่นกัน) ซึ่งขากริดนี้นะครับเราจะใช้เป็นตัวกำหนดการไหลของอิเล็กตรอนภายในหลอด เพราะว่า ขากริดนี้ก็จะเป็นเหมือนวาล์วปิดเปิด และเป็นตัวกั้นการไหลของอิเล็กตรอนนั่นเองครับ ซึ่งหลอดสูญญากาศบางชนิดก็อาจจะเรียกขากริดนี้ว่าวาล์วก็มีเช่นกันครับ (ซึ่งในหลอดสูญญากาศบางชนิดอาจจะบรรจุแก็สชนิดพิเศษไว้ภายในหลอดสุญญากาศก็มีครับ ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อเป็นการจัดระเบียบแรงดันหรือทำให้ไฟฟ้ากระแสสลับวิ่งไปในทิศทางเดียว หรือเราเรียกว่า (rectifiers) แต่ ขากริดนี้จะทำงานได้ดีมากน้อยเพียงใดและจะมีประโยชน์อย่างไรนั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวงจรภายนอกที่เราจะออกแบบและนำมาใช้งานด้วยนะครับ) เป็นอย่างไรบ้างครับกับเนื้อหาที่ผ่านมา ทางคณะผู้เขียนก็ได้กล่าวถึงโครงสร้างภายในของหลอดสุญญากาศ และส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญ และน่าจะต้องรู้เกี่ยวกับหลอดสูญญากาศไปแล้วนะครับ ต่อจากนี้ก็คงจะเป็นในส่วนของคุณสมบัติของหลอดสูญญากาศ เรามาดูกันต่อเลยนะครับ


6.) The Space Charge


ใน ส่วนนี้ก็จะกล่าวถึงตัวของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนออกมาจากแคโทรด โดยจะมีการเคลื่อนที่ไปยังเพลต ถ้าเราพิจารณาดูก็เหมือนกับว่าไม่มีการรบกวนใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้ายในหลอดสูญญากาศเลยใช่ไหมครับ ซึ่งในความเป็นจริงมีการเกิดการรบกวนเกิดขึ้นครับ โดยจะเกิดจากค่าของความหนาแน่นที่เกิดขึ้นบริเวณ แคโทรดนั้นเองครับ ซึ่งเมื่ออิเล็กตรอนมีประจุเป็นลบ มันก็จะผลักประจุเดียวกันออกห่างจากกันและก็จะวิ่งเข้าหาวัสดุที่มีประจุตรง กันข้ามครับ ซึ่งก็หมายถึงเพลตนั้นเองครับที่มีประจุเป็นบวก โดยมันจะจับคู่กันกับอิเล็กตรอนทันที แต่ถ้ามีอิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งมันก็จะผลักอิเล็กตรอนตัวแรกออกไปทำให้ทิศทาง การเดินทางไม่เป็นเส้นตรงเสมอไป โดย ที่อิเล็กตรอนที่อยู่ภายในหลอดสูญญากาศก็เช่นเดียวกันเมื่อมันวิ่งออกมาจาก ขาแคโทรดแล้วก็จะเคลื่อนที่ช้าและเบียดเสียดกันออกมาอย่างหนาแน่นจนกระทั่ง เร่งความเร็วกลุ่มอิเล็กตรอนก็จะเริ่มแยกห่างจากกันและก็จะวิ่งไปในทิศทาง ต่างๆด้วยความเร็วสูงสุดหรือความเร็วคงที่บ้างจนกว่าจะไปถึงแผ่นเพลต ถ้ามองดูระยะทางที่ไกลนี้แต่จริงแล้วมันจะเกิดขึ้นในเวลาอันสั้นมากๆ ครับ และเมื่อความหนาแน่นลดลง ก่อนที่อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าหาเพลต อิเล็กตรอนก็จะมีความเร็วสูงสุดและมีความหนาแน่นน้อยที่สุดนั้นเองครับ


รูปที่ 7 หลอดสูญญากาศ (7)


7.) คุณลักษณะของหลอดสูญญากาศ
ที่นี้มาดูในส่วนของคุณลักษณะของหลอดสูญญากาศกันต่อนะ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 8




รูปที่ 8 หลอดสูญญากาศ (8)


ใน อันดับแรกที่จะขอกล่าวถึงก็คือไส้หลอด เพราะถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากครับ โดยเริ่มจากด้านล่างของหลอดสูญญากาศและจะวนเข้ามาภายในของหลอดสูญญากาศแล้ว ก็ออกมาภายนอกเป็นเส้นบางรูปตัว U ต่อ จากนั้นก็เป็นแคโทรดที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกโดยมีแขนข้างหนึ่งจับกับไส้ หลอด ถ้ามองด้านหน้าตัดของแคโทดจะเป็นรูปทรงไข่ ในหลอดสูญญากาศบางชนิดก็จะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม เมื่อแคโทรดถูกล้อมด้วยไส้หลอดแคโทรดก็จะดูดซับความความร้อนจากไส้ด้วย โดยบริเวณที่หุ้มอยู่นี้จะมีทำปฏิกิริยาทางไฟฟ้าออกมาจากแท่งแคโทรดจน กระทั่งแท่งแคโทรดร้อนจนมีสีแดง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแท่งแคโทรดจะถูกปกคลุมไปด้วย low work function ซึ่งจะช่วยให้เป็นการง่ายในการฉายจำนวนอิเล็กตรอนขนาดใหญ่นั้นเองครับ โดยจะมีหลอดสุญญากาศพิเศษบางชนิดที่ถูกใช้ในเครื่องเสียงในปัจจุบันนี้ เพราะเดิมทีหลอดสูญญากาศได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในการส่งสัญญาณวิทยุ ส่วนประกอบของไส้หลอดและแท่งแคโทรดจะใช้ร่วมกัน และนิยมใช้หลอดประเภทนี้ในวงจร Single-End Amplifiers ซึ่ง มีนักฟังเครื่องเสียงหลายท่านบอกว่าให้เสียงที่ดีมากครับ โดยในส่วนประกอบของไส้หลอดกับแท่งแคโทรดนั้นจะถูกวางไว้อย่างแข็งแรงภายใน แผ่นเพลตที่มีรูปทรงเป็นทรงกระบอกที่เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า ระยะห่างระหว่างแผ่นเพลตกับแท่งแคโทรดจะต้องวางไว้ในตำแหน่งคงที่ เพราะแท่งแคโทรดจะอยู่ใกล้กับแผ่นเพลตมากที่สุด ดังนั้นจึงต้องมีความแข็งแรง ทนทานในสนามไฟฟ้า และกระแสจะสามารถไหลผ่านได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ และด้วยลักษณะที่เป็นรูปทรงกระบอกด้วยกันทั้งคู่ทำให้สนามไฟฟ้าวางเสมอกัน กระแสที่ไหลอยู่ภายในหลอดนี้ ซึ่งเราจะเรียกกระแสที่ไหลนั้นว่า กระแสเพลต (Plate Current) นั้นเองครับ และในส่วนของแผ่นเพลตกับแท่งแคโทรด ก็จะมีส่วนที่วางกั้นไว้นั้นก็คือ กริด ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดค่าการเกิดสนามไฟฟ้า และก็จะเป็นตัวขัดขวางสนามที่เกิดจากแผ่นเพลตอีกด้วยนะครับ โดยถ้ากริดนั้นทำมาจากโลหะทรงตันมันก็จะกั้นอิเล็กตรอนทั้งหมดและจะทำให้ไม่มีกระแสไหลผ่านไปยังแผ่นเพลตนั้นเองครับ ดังนั้นกริดจึงต้องมีลักษณะรูปร่างเป็นขดลวดคอยล์พันเกลียวรอบแท่งแคโทดนั้นเองครับ จึงจะทำให้อิเล็กตรอนสามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านออกไปได้นั้นเองครับ


รูปที่ 9 หลอดสูญญากาศ (9)


8.) พารามิเตอร์ที่สำคัญของหลอดสุญญากาศ


รูปที่ 10 ตัวอย่างการกำหนดช่วงการทำงานของหลอดสูญญากาศ เบอร์ 12AT7


ในส่วนของพารามิเตอร์ที่สำคัญของหลอดสุญญากาศที่จะกล่าวถึงนี้ ก็คงจะกล่าวถึงการกำหนดจุดการทำงานของหลอดสุญญากาศ ว่าถ้าเราใช้แรงดันเท่านี้แล้ว จะทำให้ค่าของกระแสไหลผ่านภายในหลอดเป็นเท่าไรและค่าที่ได้นั้นเป็นไปตามที่เราได้ออกแบบไว้หรือไม่ เพราะว่าการออกแบบวงจรของหลอดสูญญากาศส่วนใหญ่นั้นจะต้องเริ่มจากการกำหนดช่วงการทำงานของหลอดสูญญากาศ ว่าเราจะใช้ที่ค่าประมาณเท่าไรในการทำงาน โดยค่าที่ว่านี้ก็คือ ค่าของแรงดัน และค่าของกระแสนั้นเองครับ โดยจะขอยกตัวอย่างการออกแบบวงจรที่ใช้หลอดสุญญากาศเบอร์ 12AT7 นะครับ เพื่อหาจุดการทำงานของวงจรตามที่เรากำหนดไว้ครับ
จากรูปที่ 10 จะเห็นว่าเราได้กำหนดเส้น Loadline ขึ้นมาซึ่งเราเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเองนะครับ โดยเส้น Loadline นี้เราจะทำการรากไปทำการตัดที่แกนตั้งคือที่จุดกระแสและไปตัดที่แกนนอนคือที่จุดแรงดัน นั้นก็หมายความว่าเราจะได้ค่าแรงดันที่ใช้เป็นไฟเลี้ยงเพื่อจ่ายให้กับวงจร โดยเราจะใช้ไฟเท่ากับ นั้นเองครับ และสุดท้ายเราก็จะได้ช่วงการทำงานของหลอดสูญญากาศคือในส่วนของค่ากระแส  (กระแสที่ไหลในวงจรในขณะที่หลอดทำงาน) จะมีค่าประมาณ ดังแสดงในกราฟรูปที่ 10 และในส่วนของแรงดัน นั้น ถ้าเราดูในกราฟจากรูปที่ 10 ก็จะเป็นค่าที่บอกถึงแรงดันที่ตกคร่อมที่ขาเพลต โดยจะมีค่าประมาณ  นั้นเองครับ และในส่วนของการคำนวณหาค่าของความต้านทานของ ก็สามารถคำนวณหาได้คือ



อ้างอิง http://wara.com/article-726.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น